ซื้อสินค้า โทร.02-5110240 | 081-4563232

แก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน ทำอย่างไรได้บ้าง

แก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน ทำอย่างไรได้บ้าง

แก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน ทำอย่างไรได้บ้าง

แจกแจงหลักการและวิธีการแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน ทั้งส่วนของหลังคาและผนัง โดยเน้นการลดความร้อนที่หลังคาเป็นอันดับแรกซึ่งเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดของบ้าน

เมื่อพูดถึงปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน สาเหตุหลักๆ ก็คือ “หลังคาบ้านร้อน” เนื่องจากหลังคาจะต้องรับความร้อนจากแสงแดดตลอดวัน และโดยธรรมชาติแล้วความร้อนจะลอยขึ้นด้านบน ดังนั้นความร้อนที่เข้ามาก็จะรวมตัวอยู่ในหลังคามากที่สุด ทำให้กลายเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดของบ้านไปโดยปริยาย

เมื่อหลังคาบ้านร้อน พื้นที่ใช้สอยที่ใต้หลังคาก็จะร้อน ยิ่งในประเทศไทยเราที่แสงแดดและความร้อนจัดเต็ม ใครที่อยู่บ้านเวลากลางวัน ถ้าไม่เปิดแอร์สู้ค่าไฟก็มักต้องหนีหลบร้อนจากชั้นบนมาอยู่ชั้นล่าง เพราะทนความร้อนที่ส่งผ่านมาทางหลังคาไม่ได้ หรืออย่างบ้านไทยโบราณเองแม้จะมีพื้นที่ใช้สอยเพียงชั้นเดียวแต่ก็มีใต้ถุนที่สามารถหนีลงมาหลบร้อนในยามกลางวันได้ คำถามคือ แล้วถ้าเป็นบ้านชั้นเดียวธรรมดาที่ไม่ได้มีใต้ถุนล่ะ จะไปหลบร้อนที่ไหนกับเขาได้

ในเมื่อบ้านชั้นเดียวไม่มีที่ให้หลบเลี่ยงหนีร้อนจากหลังคา ดังนั้น การแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อนที่ดีที่สุดก็คือต้องหาวิธี “ลดความร้อนจากหลังคา” ซึ่งสามารถอาศัยหลักการดังต่อไปนี้

แก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อนโดยป้องกันความร้อนจากหลังคาบ้าน

หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ความร้อนจากหลังคาส่งต่อมาถึงตัวบ้านให้น้อยที่สุด วิธีการก็ที่ช่วยได้มากคือ “การติดฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน” เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากโถงหลังคาส่งผ่านมาถึงภายในตัวบ้าน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะต้องตรวจสอบก่อนว่าโครงคร่าวฝ้าเพดานของบ้านเราแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักฉนวนได้หรือไม่ หากไม่สามารถทำได้ อาจหันมาใช้ “ฝ้าเพดานที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน” แทน

ภาพ: ตัวอย่างการลดความร้อนจากหลังคา เพื่อแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน
ภาพ: ตัวอย่างการลดความร้อนจากหลังคา เพื่อแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน

นอกจากนี้หากเป็นบ้านสร้างใหม่ หรือมีแผนจะเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ก็อาจหันมาเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่ช่วยลดความร้อนได้ เช่น เลือกกระเบื้องหลังคาเซรามิกซึ่งเป็นวัสดุอมความร้อนน้อยกว่ากระเบื้องหลังคาคอนกรีต การเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่มีนวัตกรรมลดความร้อนโดยเฉพาะ ไปจนถึงการเลือกวัสดุมุงหลังคาสีสว่างซึ่งซึมซับความร้อนน้อยกว่าวัสดุมุงหลังคาสีมืด

ภาพ: ตัวอย่างวัสดุมุงหลังคาที่ช่วยลดความร้อน ได้แก่ (ซ้าย) กระเบื้องหลังคาเซรามิก ซึ่งอมความร้อนน้อยกว่าวัสดุคอนกรีต และ (ขวา)
ภาพ: ตัวอย่างวัสดุมุงหลังคาที่ช่วยลดความร้อน ได้แก่ (ซ้าย) กระเบื้องหลังคาเซรามิก ซึ่งอมความร้อนน้อยกว่าวัสดุคอนกรีต และ (ขวา)

ระบายความร้อนออกจากหลังคา ช่วยแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน

นอกจากการป้องกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ตัวบ้านแล้ว การคำนึงถึงช่องทางระบายความร้อนออกจากหลังคา ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยลดความร้อน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระเบื้องปล่องระบายอากาศ (ซึ่งผลิตมาสำหรับใช้กับกระเบื้องหลังคาบางรุ่นโดยเฉพาะ) การติดตั้งฝ้าชายคาระบายอากาศวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์หรือไวนิล หรือจะเลือกทำเป็นระแนงระบายอากาศก็ได้

ภาพ: ตัวอย่างการใช้งานฝ้าชายคาและวัสดุฝ้าชายคาที่มีรูระบายความร้อน
ภาพ: ตัวอย่างการใช้งานฝ้าชายคาและวัสดุฝ้าชายคาที่มีรูระบายความร้อน
ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้องปล่องระบายอากาศ และหลักการทำงานเพื่อระบายความร้อนจากหลังคา
ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้องปล่องระบายอากาศ และหลักการทำงานเพื่อระบายความร้อนจากหลังคา

แก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน โดยป้องกันร้อนจากผนังและประตูหน้าต่าง

แม้ว่าการแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อนควรเน้นการลดบ้านร้อนที่หลังคาเป็นอันดับแรก แต่หากเราสามารถลดความร้อนจากผนังและประตูหน้าต่างได้ด้วยย่อมเป็นสิ่งที่ดี โดยสามารถอาศัยวิธีการดังนี้

• การลดร้อนจากผนัง โดยทำระแนงบังแดด หรืออาจเลือกทำผนังเพิ่มอีกชั้นเพื่อซ่อนฉนวนกันความร้อนด้านใน ไปจนถึงการทาสีผนังด้วยสีกันร้อน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยสะท้อนความร้อนได้ หรือเลือกใช้ไม้ฝารุ่นที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน

ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้องปล่องระบายอากาศ และหลักการทำงานเพื่อระบายความร้อนจากหลังคา
ภาพ: ตัวอย่างวิธีการลดความร้อนที่ผนังบ้าน

• การลดความร้อนจากประตูหน้าต่าง ด้วยการติดฟิล์มกันร้อน หรือติดตั้งกันสาดช่วยบังแดด ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านไม่ชอบให้กันสาดยื่นออกมาอยู่ตลอดเพราะดูเสียทัศนียภาพ ก็สามารถเลือกใช้กันสาดแบบพับได้ หรือม่านม้วนแนวดิ่ง ซึ่งสามารถเลือกเปิดปิดเพื่อบังแดดได้ตามเวลาที่ต้องการ

ภาพ: ตัวอย่างวิธีการลดความร้อนที่ประตูหน้าต่าง ทั้งการติดฟิล์มกันร้อน (ซ้าย) การติดตั้งกันสาดพับได้หรือม่านม้วนแนวดิ่ง (ขวา)
ภาพ: ตัวอย่างวิธีการลดความร้อนที่ประตูหน้าต่าง ทั้งการติดฟิล์มกันร้อน (ซ้าย) การติดตั้งกันสาดพับได้หรือม่านม้วนแนวดิ่ง (ขวา)

พื้นคอนกรีตรอบบ้านเป็นวัสดุที่อมความร้อนและสามารถคายความร้อนเข้าไปในบ้านได้ การจัดแต่งสวนรอบบ้าน ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา ทำบ่อน้ำตกแต่งในทิศทางที่ลมพัดเข้าบ้าน จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดบ้านร้อนได้ด้วย ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านไม่สะดวกจะดูแล อาจเลือกใช้วัสดุอื่นที่อมความร้อนน้อยกว่าพื้นคอนกรีต เช่น ปูหญ้าเทียม หรือใช้บล็อกปูพื้นรุ่นที่มีคุณสมบัติลดความร้อนที่ผิวหน้าได้

ภาพ: ตัวอย่างวัสดุปูพื้นที่ช่วยลดปัญหาพื้นรอบบ้านร้อน ได้แก่ หญ้าเทียม (ซ้าย) และบล็อกปูพื้นที่มีคุณสมบัติเก็กกับน้ำที่ผิว เพื่อช่วยลดความร้อนที่ผิวหน้า (ขวา)
ภาพ: ตัวอย่างวิธีการลดความร้อนที่ประตูหน้าต่าง ทั้งการติดฟิล์มกันร้อน (ซ้าย) การติดตั้งกันสาดพับได้หรือม่านม้วนแนวดิ่ง (ขวา)

จะเห็นว่าการแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อนนั้นทำได้หลายทาง ข้อสำคัญคือ เจ้าของบ้านควรเน้นการแก้ปัญหาเรื่องความร้อนจากหลังคาก่อนเพราะเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดของบ้าน จากนั้นค่อยพิจารณาลดบ้านร้อนด้วยการปรับปรุงส่วนอื่นๆ เป็นลำดับถัดไป ซึ่งวิธีทั้งหมดสามารถประยุกต์ใช้กับบ้าน 2 ชั้นขึ้นไปได้ด้วย ทั้งนี้การลดบ้านร้อนนอกจากจะทำให้เรารู้สึกสบายเนื้อตัวมากขึ้นแล้ว เวลาเปิดแอร์ก็จะกินไฟน้อยลง ช่วยลดภาระค่าไฟได้ด้วย สำหรับบ้านที่อยากหาวิธีลดค่าไฟ อาจลองปรับปรุงบ้านตามวิธีที่แนะนำน่าจะช่วยลดบ้านร้อนได้พอสมควร เว้นแต่ว่ามีความจำเป็นต้องใช้ไฟมากในเวลากลางวัน ต้องเปิดแอร์เป็นเวลานานจนค่าไฟยังลดได้ไม่เพียงพอ อาจลองพิจารณาติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์เพิ่มเติมในภายหลังเป็นทางเลือกถัดไป

ป้ายกำกับ
CPAC Concrete กระเบื้องหลังคา ครัวไทย คอนกรีตสําเร็จรูป ซีแพค จัดสวนในบ้าน ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน scg ฉนวนกันความร้อน STAY COOL ซ่อมหลังคา ซ่อมหลังคาบ้าน ซ่อมหลังคารั่ว ดูแลบ้าน ดูแลรักษา ตกแต่งบ้าน ต่อเติม ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัวใหม่ ต่อเติมหลังคา บล็อกปูพื้น บล็อกปูพื้น scg บ้านร้อน บ้านสร้างใหม่ ปัญหาบ้านร้อน ปิดโพรงใต้บ้าน ฝ้าเพดาน ฟิล์มติดกระจกบ้าน รวมไอเดียร์ตกแต่งบ้าน ลดร้อนให้บ้าน วัสดุตกแต่ง วัสดุอะคูสติก เอสซีจี สมาร์ทบอร์ด หลังคา scg หลังคากันสาด หลังคารั่ว หลังคา โซล่าเซลล์ หลังคาโซล่าเซลล์ ราคา ฮวงจุ้ย เคาน์เตอร์ครัว เสือ มอร์ตาร์ แต่งบ้าน แต่งบ้านสไตล์โมเดิร์น แต่งบ้านเสริมมงคล แต่งบ้านให้น่าอยู่ แผ่นสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี

โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว

  1. แจกแจงหลักการและวิธีการแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน ทั้งส่วนของหลังคาและผนัง โดยเน้นการลดความร้อนที่หลังคาเป็นอันดับแรกซึ่งเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดของบ้าน

ใส่ความเห็น

ประกาศวันหยุด ในวันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ

เปิดให้บริการปกติอีกครั้ง ในพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2567
×
×

Cart