ซื้อสินค้า โทร.02-5110240 | 081-4563232

หลังคากันความร้อนเพื่อบ้านเย็น แก้ปัญหาเน้นๆ แบบตรงจุด

หลังคากันความร้อนเพื่อบ้านเย็น แก้ปัญหาเน้นๆ แบบตรงจุด

หลังคากันความร้อนเพื่อบ้านเย็น แก้ปัญหาเน้นๆ แบบตรงจุด

หลังคากันความร้อนเพื่อบ้านเย็น แก้ปัญหาเน้นๆ แบบตรงจุด สรุปแนวทางปรับปรุงบ้านโดยทำหลังคากันร้อนเพื่อบ้านเย็น เพื่อลดความร้อนจากโถงหลังคาซึ่งเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดในบ้าน ภายใต้ 2 หลักการ คือ ใช้วัสดุป้องกันความร้อน กับการระบายความร้อนจากโถงหลังคา

หลังคากันความร้อน เป็นของคู่กันกับหน้าร้อน แต่หากเจ้าของบ้านเห็นว่าปัญหานี้ทำลายสภาวะอยู่สบายมากเกินไปจนต้องหาวิธีปรับปรุงให้บ้านเย็นขึ้น แนะนำให้เริ่มทำ “หลังคากันร้อน” ก่อน จะตรงจุดที่สุด เพราะ 70% ของความร้อนที่เข้าสู่บ้านมานั้นจากทางหลังคา และวิธีที่ SCG HOME จะมาแนะนำในวันนี้ ก็ไม่ได้ยุ่งยากถึงขั้นรื้อหลังคากันใหญ่โตแต่อย่างใด เพียงแค่ปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ โดยอาศัย 2 หลักการคือ

  • การใช้วัสดุป้องกันความร้อน ช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากโถงหลังคาเข้าสู่ตัวบ้าน เช่น ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฝ้าเพดานสะท้อนความร้อน
  • การระบายความร้อนออกจากโถงหลังคา โดยสร้างช่องทางให้ความร้อนและอากาศสามารถระบายออกจากหลังคา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ฝ้าชายคาระบายอากาศ ติดตั้งชุดกระเบื้องหลังคาระบายอากาศ รวมถึงการใช้ระบบช่วยเร่งอัตราการระบายอากาศ

1. ติดฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ที่ฝ้าเพดานชั้นบน

หลังคากันความร้อน ติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL เป็นวัสดุใยแก้ว ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานความร้อน เมื่อนำมาติดตั้งที่ฝ้าเพดานชั้นบนสุด ตัวฉนวนจะทำหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากบริเวณโถงหลังคาผ่านเข้ามาภายในตัวบ้าน ฉนวนมีให้เลือก 2 ความหนา คือ 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว ยิ่งหนายิ่งกันความร้อนได้มาก(หากโครงคร่าวฝ้าเพดานรับน้ำหนักได้ดี แนะนำให้ใช้รุ่นหนา 6 นิ้ว จะได้หลังคากันร้อนที่มีประสิทธิภาพคุ้มค่ากว่า)

ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ที่ฝ้าเพดานชั้นบน
ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ที่ฝ้าเพดานชั้นบน

2. ติดตั้งแผ่นยิปซัมสะท้อนความร้อน ที่ฝ้าเพดานชั้นบน

หลังคากันความร้อน หากต้องการทำหลังคากันร้อน แต่กังวลว่าโครงคร่าวฝ้าเพดานจะรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนหลังคาไม่ได้ อาจหันมาใช้วิธีเปลี่ยนฝ้าชั้นบนเป็นแผ่นยิปซัมสะท้อนความร้อนซึ่งมีวัสดุอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบอยู่ อะลูมิเนียมฟอยล์มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อน เมื่อนำมาติดตั้งที่ฝ้าเพดานชั้นบนสุด รังสีความร้อนจากโถงหลังคาจะถูกสะท้อนกลับออกไป ทำให้ความร้อนผ่านเข้ามาสู่ตัวบ้านน้อยลง

ภาพ: ฝ้ายิปซัมสะท้อนความร้อนซึ่งมีแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบด้านบน
ภาพ: ฝ้ายิปซัมสะท้อนความร้อนซึ่งมีแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบด้านบน

3. ใช้ฝ้าชายคาระบายอากาศหรือทำระแนงไม้เว้นร่อง

เป็นการทำหลังคากันร้อนโดยสร้างช่องระบายอากาศที่ชายคา เพื่อระบายอากาศและความร้อนจากโถงหลังคาออกไป อุณหภูมิในโถงหลังคาจะได้ลดลง โดยอาจเลือกแนวทางดังนี้

  • ใช้แผ่นฝ้าระบายอากาศ ซึ่งมีคุณสมบัติทนความชื้น ใช้งานภายนอกอาคารได้ และไม่เป็นอาหารปลวก โดยอาจเป็น “ฝ้าสมาร์ทบอร์ด SCG” ซึ่งเป็นวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ ทาสีทับได้ มีแพทเทิร์นให้เลือกหลากหลายแบบ (ควรติดตั้งมุ้งลวดกันแมลงเข้าหรือเลือกใช้วัสดุรุ่นที่มีมุ้งลวดในตัว) กับอีกทางเลือกหนึ่งคือ “ฝ้าไวนิล” สีขาว ให้ลุคทันสมัย และมีช่องระบายที่ออกแบบมาเพื่อกันแมลงโดยเฉพาะ
  • ใช้ไม้ระแนง เอสซีจี เป็นไม้เทียมวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยติดตั้งแบบเว้นร่องให้อากาศและความร้อนจากโถงหลังคาระบายออกไปได้ (ควรติดตั้งมุ้งลวดกันแมลงเข้าหรือเลือกใช้วัสดุรุ่นที่มีมุ้งลวดในตัว)
ภาพ: การทำช่องระบายความร้อนใต้หลังคาที่บริเวณชายคาโดยใช้แผ่นฝ้าชายคาระบายอากาศ (ซ้าย) และไม้ระแนงตีเว้นร่อง (ขวา)
ภาพ: การทำช่องระบายความร้อนใต้หลังคาที่บริเวณชายคาโดยใช้แผ่นฝ้าชายคาระบายอากาศ (ซ้าย) และไม้ระแนงตีเว้นร่อง (ขวา)
ภาพ: ตัวอย่าง การใช้งานแผ่นฝ้าชายคาระบายไวนิล SCG
ภาพ: ตัวอย่าง การใช้งานแผ่นฝ้าชายคาระบายไวนิล SCG

4. ติดตั้งชุดกระเบื้องหลังคาระบายอากาศ SCG

กระเบื้องหลังคาคอนกรีต และกระเบื้องหลังคาเซรามิกของ SCG บางรุ่น จะมีชุดกระเบื้องพร้อมปล่องระบายอากาศให้เลือกใช้ เพื่อเป็นช่องทางระบายความร้อนออกจากหลังคา ไม่ว่าจะเป็นบ้านสร้างใหม่และบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้วก็สามารถทำหลังคากันร้อนด้วยวิธีนี้ได้ โดยปล่องระบายอากาศจะติดอยู่กับชิ้นกระเบื้องซึ่งผลิตมาเพื่อหลังคาแต่ละรุ่น มีระบบป้องกันการรั่วซึมอย่างดี เจ้าของบ้านจึงไม่ต้องกังวลว่าติดตั้งแล้วจะเกิดปัญหาหลังคารั่วในหน้าฝน

ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งกระเบื้องปล่องระบายอากาศ SCG เพื่อระบายความร้อนใต้หลังคา
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งกระเบื้องปล่องระบายอากาศ SCG เพื่อระบายความร้อนใต้หลังคา

5. ติดตั้งระบบระบายอากาศ Active AIRflow™ System

เป็นอีกแนวทางทำหลังคากันร้อนโดยอาศัยระบบเร่งอัตราระบายอากาศ ด้วยการดึงอากาศจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน แล้วดูดขึ้นฝ้าเพดานชั้นบนสู่โถงหลังคา ก่อนจะระบายอากาศและความร้อนออกนอกบ้านผ่านช่องอุปกรณ์ที่ติดกับกระเบื้องหลังคา โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้ ได้แก่

  • Intake Air Grille ช่องเติมอากาศจากนอกบ้าน ซึ่งมีแผ่นกรองอากาศป้องกันฝุ่นและแมลง
  • Ceiling Ventilator เป็นอุปกรณ์ติดที่ฝ้าเพดานชั้นบน ทำหน้าที่ดูดอากาศในบ้านขึ้นสู่โถงหลังคา
  • Solar Roof Tile Ventilator เป็นชุดกระเบื้องระบายความร้อนออกจากโถงหลังคา

ทั้งนี้ จำนวนอุปกรณ์ที่ติดตั้ง จะถูกคำนวณให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ในบ้าน เพื่อสร้างอัตราการระบายอากาศภายในบ้านที่เหมาะสมอยู่เสมอในทุกฤดู ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไปแม้จะปิดบ้านมิดชิดตลอดตาม

ภาพ: แสดงการทำงานของระบบระบายอากาศ Active AIRflow™ System
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งกระเบื้องปล่องระบายอากาศ SCG เพื่อระบายความร้อนใต้หลังคา
Tags
CPAC Concrete กระเบื้องหลังคา การติดตั้งฉนวนกันความร้อน ครัวไทย คอนกรีตสําเร็จรูป ซีแพค จัดสวนในบ้าน ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน scg ฉนวนกันความร้อน STAY COOL ซ่อมหลังคา ซ่อมหลังคาบ้าน ซ่อมหลังคารั่ว ดูแลบ้าน ดูแลรักษา ตกแต่งบ้าน ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ต่อเติม ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัวใหม่ ต่อเติมหลังคา บล็อกปูพื้น บ้านร้อน บ้านสร้างใหม่ ปรับปรุงบ้าน ปัญหาบ้านร้อน ปิดโพรงใต้บ้าน ฝ้าเพดาน ฟิล์มติดกระจกบ้าน รวมไอเดียร์ตกแต่งบ้าน ลดร้อนให้บ้าน วัสดุตกแต่ง สมาร์ทบอร์ด หลังคา scg หลังคากันสาด หลังคารั่ว หลังคา โซล่าเซลล์ หลังคาโซล่าเซลล์ ราคา ฮวงจุ้ย เคาน์เตอร์ครัว เสือ มอร์ตาร์ แต่งบ้าน แต่งบ้านเสริมมงคล แต่งบ้านให้น่าอยู่ แผ่นสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี

โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว

  1. หลังคากันความร้อนเพื่อบ้านเย็น แก้ปัญหาเน้นๆ แบบตรงจุด สรุปแนวทางปรับปรุงบ้านโดยทำหลังคากันร้อนเพื่อบ้านเย็น เพื่อลดความร้อนจากโถงหลังคาซึ่งเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดในบ้าน ภายใต้ 2 หลักการ คือ ใช้วัสดุป้องกันความร้อน กับการระบายความร้อนจากโถงหลังคา

ใส่ความเห็น

×