ต่อเติมหน้าบ้านให้กลายเป็นพื้นที่นั่งเล่น น่านั่ง แข็งแรง Post published:08/04/2023 Post category:ต่อเติมปรับปรุง Post comments:1 Comment Reading time:8 mins read Post last modified:08/04/2023 Post author:Webplandee.com ต่อเติมหน้าบ้านให้กลายเป็นพื้นที่นั่งเล่น น่านั่ง แข็งแรง (หมวด : ต่อเติมปรับปรุง) ต่อเติมหน้าบ้านให้กลายเป็นพื้นที่นั่งเล่น น่านั่ง แข็งแรง การต่อเติมหน้าบ้านให้เป็นพื้นที่นั่งเล่น นอกจากจะต้องคำนึงเรื่องความสวยงามเพราะเป็นหน้าเป็นตาของเจ้าของบ้าน รวมถึงออกแบบฟังก์ชั่นให้ตอบโจทย์การใช้งานของสมาชิกในบ้านแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักได้ดีและมีความปลอดภัย ภาพ: ตัวอย่างงานต่อเติมที่เลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์รูปตัวไอ 1. งานโครงสร้างพื้นสำหรับส่วนต่อเติมพื้นที่นั่งเล่น 1.1 กรณีพื้นที่นั่งเล่นส่วนต่อเติมอยู่ติดกับตัวบ้าน หรือไม่ต้องการให้ทรุดตัวมาก เช่น ต่อเติมพื้นระเบียงหน้าบ้าน ควรลงเสาเข็มยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง (ลึกประมาณ 17-24 ม.) ซึ่งใกล้เคียงกับเสาเข็มตัวบ้านหลัก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้เสาเข็มเจาะ หรือเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อให้โครงสร้างพื้นระเบียงที่ต่อเติมนี้ทรุดตัวใกล้เคียงกับตัวบ้านหลัก 1.2 กรณีพื้นที่นั่งเล่นส่วนต่อเติมอยู่ห่างจากตัวบ้าน หรือยอมให้ส่วนต่อเติมทรุดต่างจากตัวบ้าน เช่น ทำซุ้มหรือศาลานั่งเล่น ลานนั่งเล่นอเนกประสงค์ ก็ไม่จำเป็นต้องลงเข็มยาว กรณีนี้อาจถมทรายบดอัดแน่นปรับระดับเพื่อติดตั้งบล็อกปูพื้น หรือทำโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ Slab on Ground (ไม่ลงเสาเข็ม) หรือลงเสาเข็มสั้นในลักษณะฐานเข็มกลุ่มหรือฐานเข็มปูพรมรองรับเพื่อความแข็งแรงและช่วยชะลอการทรุดตัวของส่วนต่อเติม ภาพ: พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบ Slab on Ground (บน) และแบบมีเสาเข็ม (ล่าง) 2. งานโครงสร้างหลังคาส่วนต่อเติม (กรณีต้องการติดตั้ง/ต่อเติมหลังคาหน้าบ้าน) แบ่งได้ 2 กรณี 2.1 กรณีต้องการติดตั้งหลังคาที่มีระยะยื่นไม่เกิน 2 เมตร กรณีนี้ สามารถติดตั้งโครงหลังคายึดกับโครงสร้างตัวบ้านเดิมได้ ลักษณะเดียวกับกันสาดที่ไม่มีเสารองรับ โดยต้องเลือกใช้วัสดุมุงที่มีน้ำหนักเบา 2.2 กรณีต้องการต่อเติมหลังคาทั้งส่วน หรือพื้นที่นั่งเล่นกว้างเกิน 2 เมตร กรณีต้องการทำหลังคาคุลมทั้งส่วนที่ต่อเติม หรือพื้นที่นั่งเล่นระยะยื่นเกิน 2 เมตรนี้ แนะนำตั้งเสาทั้ง 4 ต้นบนพื้นโครงสร้างส่วนต่อเติมเพื่อรับหลังคา โดยแยกโครงสร้างเป็นคนละส่วนกับตัวบ้านหลัก ไม่ยึดโครงหลังคากับโครงสร้างบ้านเดิม เพราะหากพื้นที่นั่งเล่นส่วนต่อเติมทรุดตัวจะได้ไม่ดึงรั้งโครงสร้างบ้านเดิมจนเสียหาย แต่หากต้องการติดตั้งหลังคาส่วนต่อเติมในลักษณะที่มีเสารองรับ 2 ต้นที่ด้านหน้า (ด้านหลังยึดกับโครงสร้างบ้านเดิม) ลักษณะนี้ควรทำจุดเชื่อมต่อให้สามารถขยับได้เผื่อรองรับการทรุดตัว ภาพ: ติดตั้งหลังคากับตัวบ้านเดิมโดยทำกันสาดในลักษณะที่ไม่มีเสารองรับ ภาพ: กรณีฝากโครงหลังคาใหม่ไว้กับโครงสร้างบ้านเดิม ให้ทำจุดเชื่อมต่อขยับได้เผื่อรองรับการทรุดตัว ภาพ: กรณีแยกโครงสร้างใหม่ ลงเสาทั้ง 4 ต้น สำหรับรองรับหลังคาโดยเฉพาะ 3. วัสดุมุงหลังคาที่เหมาะสมสำหรับส่วนต่อเติม สำหรับวัสดุมุงหลังคาที่ใช้ หากมีน้ำหนักเบาจะมีข้อดีคือช่วยลดภาระให้กับโครงสร้างส่วนต่อเติม 3.1 กรณีวัสดุมุงหลังคาเป็นแบบทึบแสง ให้ช่วยกันได้ทั้งแดดและฝน เช่น หลังคาเหล็กรีดลอน (Metal Sheet) หลังคาไวนิล (PVC หรือ Poly Vinyl Chloride) หลังคา UPVC (Unplastizide Poly Vinyl Chloride) 3.2 กรณีวัสดุมุงหลังคาเป็นแบบโปร่งแสง ให้ได้รับแสงธรรมชาติ อาจเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาแบบโปร่งแสง เช่น พลาสติกลูกฟูก (Polycarbonate) อะคริลิก (Acrylic) หรือไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) กรณีต้องการให้แสงผ่านได้เพียงบางส่วนอาจเลือกใช้ UPVC (Unplasticized Polyvinyl Chloride) สีขาวขุ่น ซึ่งมีคุณสมบัติให้แสงผ่านได้ประมาณ 40% นอกจากการเลือกวัสดุหลังคาแบบทึบแสงหรือหลังคาโปร่งแสงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็สามารถเลือกลูกเล่นหลังคาแบบทึบสลับโปร่งให้สวยงามไปอีกแบบได้อีกด้วย ภาพ: ตัวอย่างการเลือกวัสดุมุงหลังคาแบบทึบแสง เช่น เมทัลชีท (บน) และไวนิล (ล่าง) ภาพ: ตัวอย่างการเลือกวัสดุมุงหลังคาแบบโปรงแสง กรณีต้องการได้รับแสงธรรมชาติ เช่น อะคริลิก (ซ้าย) และไฟเบอร์กลาส (ขวา) ภาพ: ตัวอย่างการเลือกวัสดุมุงหลังคาแบบโปรงแสง กรณีต้องการได้รับแสงธรรมชาติ เช่น อะคริลิก (ซ้าย) และไฟเบอร์กลาส (ขวา) ภาพ: ตัวอย่างไอเดียต่อเติมหลังคาแบบทึบสลับโปร่ง 4. วัสดุตกแต่งพื้น เลือกแบบที่เข้ากับตัวบ้าน ปลอดภัย ไม่ลื่นพื้นที่นั่งเล่นหน้าบ้าน สามารถเลือกวัสดุพื้นได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องคอนกรีต ไม้เทียม กรวดล้าง เป็นต้น แบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ 4.1 กรณีเป็นพื้นดินหรือทรายบดอัด ไม่ได้มีพื้นคอนกรีตรองรับ สามารถเลือกใช้เป็นบล็อกปูพื้นคอนกรีต ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถปูลงบนพื้นดินและทรายบดอัดได้เลย สามารถเลือกสีสันและทำแพทเทิร์นได้หลากหลาย และยังมีรุ่นพิเศษที่ตอบโจทย์เฉพาะ เช่น บล็อกปูพื้นรุ่น Cool Plus ช่วยลดความร้อน บล็อกปูพื้นรุ่น Porous Block ที่มีรูพรุนระบายน้ำได้ หรือถ้าอยากได้พื้นที่สีเขียวในตัว ก็สามารถใช้บล็อกปลูกหญ้าแทนได้ 4.2 กรณีเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (ไม่ว่าจะเป็นพื้น Slab on Ground หรือลงเสาเข็ม) สามารถเลือกวัสดุตกแต่งพื้นได้หลากหลายตามต้องการ เช่น พื้นคอนกรีตตกแต่งผิวปูนเปลือยขัดมัน กรวดล้าง ทรายล้าง คอนกรีตพิมพ์ลาย (Stamped Concrete) ปูกระเบื้องเซรามิก หรือกระเบื้องคอนกรีต รวมไปถึงการเลือกติดตั้งพื้นไม้จริง/พื้นไม้เทียมที่อบอุ่นดูเป็นธรรมชาติ ภาพ: ตัวอย่างการเลือกติดตั้งบล็อกปูพื้นคอนกรีต รุ่นบล็อกปลูกหญ้า เอสซีจี TURF-SERIES บนพื้นดิน ที่เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับส่วนต่อเติมได้อย่างเป็นธรรมชาติ ภาพ: ติดตั้งบล็อกปูพื้นคอนกรีต ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งบนพื้นดิน/ทรายบดอัด รวมถึงติดตั้งบนพื้นคอนกรีตก็ได้เช่นกัน ภาพ: ตัวอย่างพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย (Stamped Concrete) ภาพ: ตัวอย่างการปูกระเบื้องเซรามิกบนพื้นคอนกรีตส่วนต่อเติม ภาพ: ตัวอย่างการเลือกติดตั้งพื้นไม้เทียมที่ดูอบอุ่นเป็นธรรมชาติ 5. เลือกวัสดุตกแต่งอื่นๆ เพื่อตกแต่งพื้นที่นั่งเล่นหน้าบ้านให้สวยงาม รูปแบบการต่อเติมหลังคา ต่อเติมหลังคาหน้าบ้านพื้นที่นั่งเล่นหน้าบ้าน สามารถเลือกวัสดุตกแต่งอื่นๆ เพิ่มเติมให้ดูเหมาะกับบรรยากาศพักผ่อน เช่น เลือกระแนงไม้เป็นผนังช่วยกรองแสง เพิ่มระแนงกรองแสงสำหรับหลังคาโปร่งแสง (เช่น หลังคาโปร่งแสงลอนกันสาด อะคริลิกแผ่นเรียบ หรือพลาสติกลูกฟูก ที่เพิ่มระแนงไม้บังแดด) ติดตั้งไม้เทียมบนฝ้าสำหรับหลังคาแบบทึบแสงเพื่อเพิ่มความสวยงาม ทำสวนแนวตั้งช่วยบังแดดและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ภาพ: ติดตั้งระแนงไม้เป็นผนังช่วยกรองแสง ภาพ: เพิ่มระแนงกรองแสงสำหรับหลังคาโปร่งแสง ภาพ: ติดตั้งไม้เทียมบนฝ้าสำหรับหลังคาแบบทึบแสงเพื่อเพิ่มความสวยงาม ทั้งนี้การต่อเติมหน้าบ้านให้เป็นพื้นที่นั่งเล่นหรือส่วนใด ๆ ของบ้านนั้น ความปลอดภัยนับเป็นเรื่องสำคัญดับต้น ๆ เจ้าของบ้านจึงควรปรึกษาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อออกแบบคำนวณโครงสร้างและการรับน้ำหนักให้ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงเลือกใช้ช่างที่มีความชำนาญงานต่อเติมโดยเฉพาะ สินค้าที่เกี่ยวข้อง แผ่นโปร่งแสง ลอนคู่แผ่นโปร่งแสง เอสซีจี ลอนคู่ สีขาวมุก ขนาด 50x120x0.12 ซม. 305.00฿ ให้คะแนน 5.00 ตั้งแต่ 1-5 คะแนน แผ่นโปร่งแสง ลอนคู่ ตราเสือแผ่นโปร่งแสง ลูกฟูกลอนเล็ก ขาวใส-เสือ ขนาด 0.54x1500x0.8 มม. 195.00฿ สินค้าหมด ลูกฟูกลอนเล็กแผ่นโปร่งแสง เอสซีจี ลูกฟูกลอนเล็ก สีขาวมุก 54x150x0.12 ซม. 390.00฿ แผ่นโปร่งแสง เอสซีจี, แผ่นโปร่งแสง ลอนคู่แผ่นโปร่งแสง เอสซีจี ลอนคู่ สีใส ขนาด 50x120x1.2 มม. 310.00฿ ให้คะแนน 5.00 ตั้งแต่ 1-5 คะแนน ดูสินค้าเพิ่มเติม ลิงค์ที่เกี่ยวข้องwww.scghome.comwww.scgbuildingmaterials.comwww.rangnam.scg-smarthome.comwww.scg-smarthome.comwww.scgmortar.scg-towiwat.comwww.webplandee.comwww.taradwebsite.com ติดตามเราFacebook : หจก. ต.วิวัฒน์ค้าวัสดุภัณฑ์ (1987) จำกัด Tags: ซ่อมหลังคารั่ว, ดูแลรักษา, ตกแต่งบ้าน, ต่อเติมที่นั่งเล่น, ต่อเติมหลังคา, ปัญหาบ้านร้อน, สนามหญ้าหน้าบ้าน แบ่งปันสิ่งนี้ Share this content Opens in a new window Opens in a new window Opens in a new window โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว Webplandee.com 08/04/2023 เข้าสู่ระบบเพื่อตอบ ต่อเติมหน้าบ้านให้กลายเป็นพื้นที่นั่งเล่น น่านั่ง แข็งแรง การต่อเติมหน้าบ้านให้เป็นพื้นที่นั่งเล่น นอกจากจะต้องคำนึงเรื่องความสวยงามเพราะเป็นหน้าเป็นตาของเจ้าของบ้าน รวมถึงออกแบบฟังก์ชั่นให้ตอบโจทย์การใช้งานของสมาชิกในบ้านแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักได้ดีและมีความปลอดภัย ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบคุณต้อง logged ใน เพื่อโพสต์ความคิดเห็น Read more articles โพสต์ก่อนหน้า6 วิธีช่วยลดปัญหาบ้านร้อนให้บ้านหลังเดิม คุณอาจจะชอบ รวมไอเดียตกแต่งผนังบ้านสวย ด้วย 6 วัสดุจาก เอสซีจี 28/10/2020 ไขปัญหาบล็อกปูพื้นยุบ แต่งพื้นรอบบ้านสวยทนนาน 29/10/2020 ปูพื้นรอบบ้านสวยใหม่ ด้วยบล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีต 16/11/2021
Webplandee.com 08/04/2023 เข้าสู่ระบบเพื่อตอบ ต่อเติมหน้าบ้านให้กลายเป็นพื้นที่นั่งเล่น น่านั่ง แข็งแรง การต่อเติมหน้าบ้านให้เป็นพื้นที่นั่งเล่น นอกจากจะต้องคำนึงเรื่องความสวยงามเพราะเป็นหน้าเป็นตาของเจ้าของบ้าน รวมถึงออกแบบฟังก์ชั่นให้ตอบโจทย์การใช้งานของสมาชิกในบ้านแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักได้ดีและมีความปลอดภัย
ต่อเติมหน้าบ้านให้กลายเป็นพื้นที่นั่งเล่น น่านั่ง แข็งแรง การต่อเติมหน้าบ้านให้เป็นพื้นที่นั่งเล่น นอกจากจะต้องคำนึงเรื่องความสวยงามเพราะเป็นหน้าเป็นตาของเจ้าของบ้าน รวมถึงออกแบบฟังก์ชั่นให้ตอบโจทย์การใช้งานของสมาชิกในบ้านแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักได้ดีและมีความปลอดภัย