ซื้อสินค้า โทร.02-5110240 | 081-4563232

เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1

เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1

เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1

"

เลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี วัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์ต้องแกร่งและดูแลง่าย อีกทั้งเลือกวัสดุปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ที่เข้ากับสไตล์การตกแต่ง

"

ครัวไทย เป็นครัวสำหรับการทำอาหารวิถีไทย ที่มีการใช้งานทั้งตำ สับ ผัด โขลก ทอด เคาน์เตอร์ครัวจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการทำอาหารที่ควรมีความแข็งแรงทนทาน สามารถรองรับการใช้งานต่างๆ ได้ดี อีกทั้งควรทำความสะอาดได้ง่าย เมื่อเราคิดจะทำเคาน์เตอร์ครัวไทย นอกจากการออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานและลงตัวกับพื้นที่ที่มีแล้ว ยังมีเรื่องการเลือกวัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์ วัสดุปิดผิวโดยรอบอีกด้วย

วัสดุเคาน์เตอร์ครัวไทยต้องรับน้ำหนักได้ดี

เคาน์เตอร์ครัวประกอบด้วยส่วนผนังเคาน์เตอร์ ท็อปเคาน์เตอร์ และพื้นเคาน์เตอร์ สำหรับผนังเคาน์เตอร์ครัวไทยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมการก่ออิฐฉาบปูน โดยอิฐที่เลือกใช้ได้แก่ อิฐมอญ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา หากเลือกใช้อิฐมอญจะมีน้ำหนักต่อตารางเมตรมากที่สุด และยังมีขนาดเล็กจึงใช้เวลาในการก่อมากกว่าอิฐบล็อกและอิฐมวลเบา ส่งผลต่อค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สามารถเลือกก่ออิฐมอญโชว์แนวตามสไตล์การตกแต่งที่ต้องการได้ ส่วนอิฐบล็อกซึ่งถึงแม้จะประหยัดงบประมาณมากที่สุด และใช้ระยะเวลาในการก่อเร็วพอๆ กับอิฐมวลเบา แต่เนื่องจากมีรูกลวงตรงกลางจึงไม่แข็งแรงเท่าอิฐมอญและอิฐมวลเบา และไม่เหมาะสำหรับการเจาะยึดแขวนชั้นวางของ มักพบในกรณีทำเคาน์เตอร์โปร่งไม่มีหน้าบานตู้หรือลิ้นชัก ส่วนอิฐมวลเบาควรเลือกใช้อิฐมวลเบาที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ความแข็งแรงเทียบเท่าอิฐมอญ โดยที่สามารถก่อได้เร็วและเนี้ยบง่ายกว่าการก่ออิฐมอญ

ท็อปเคาน์เตอร์ด้านบน มักจะเป็นการหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กตามแบบที่ต้องการ โดยเว้นช่องสำหรับติดตั้งเตาและอ่างล้างจานตามขนาด สามารถทำได้ 2 แนวทาง แนวทางแรกคือเตรียมเหล็กเสริมยื่นออกมาจากผนังตามระยะที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกก่อนการก่อส่วนผนัง แล้วหล่อคอนกรีตเคาน์เตอร์เชื่อมกับเหล็กเสริมดังกล่าว โดยมีผนังเคาน์เตอร์ช่วยรับแรง อีกแนวทางคือหล่อเคาน์เตอร์ตามแบบ รอจนคอนกรีตเซตตัวจึงค่อยยกมาติดตั้งบนผนังเคาน์เตอร์ที่ทำไว้แล้ว ผนังเคาน์เตอร์จะทำหน้าที่รับน้ำหนักแผ่นท็อปเคาน์เตอร์โดยตรง

พื้นเคาน์เตอร์ควรสูงกว่าระดับพื้นบ้านประมาณ 10 ซม. แนวทางที่ทำได้สำหรับผนังก่ออิฐ เช่น เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือใช้อิฐมวลเบาหนา 7.5 ซม. วางตามนอน วางตะแกรงเหล็ก (Wire Mesh) แล้วจึงเทคอนกรีตทับ

เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1
ตัวอย่างพื้นกระเบื้องที่ไม่ลื่น

นอกจากการเลือกใช้วัสดุอิฐก่อกับแผ่นเคาน์เตอร์หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กแล้ว ปัจจุบันมีแผ่นเคาน์เตอร์สำเร็จรูปที่มีชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบกัน อย่างเช่น แผ่นเคาน์เตอร์มวลเบาสำเร็จรูปซึ่งผลิตจากคอนกรีตมวลเบาที่มีการเสริมเหล็กไว้ภายใน มีขนาดมาตรฐานให้เลือกใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น ชิ้นส่วนบน (มีให้เลือกทั้งสำหรับเคาน์เตอร์ปกติ เคาน์เตอร์สำหรับติดตั้งเตา และเคาน์เตอร์สำหรับอ่างล้างจาน) ชิ้นส่วนด้านข้าง (ส่วนผนังหรือขาตั้ง) และชิ้นส่วนล่าง (ส่วนพื้น) จึงสามารถติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว เพราะไม่ต้องก่ออิฐหรือหล่อคอนกรีตที่หน้างาน

เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1
ภาพ: ตัวอย่างเคาน์เตอร์มวลเบาสำเร็จรูป

วัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์ต้องแกร่ง ดูแลง่าย

วัสดุปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ครัวมีให้เลือกหลากหลาย เช่น ไม้จริง ไม้อัดที่กรุด้วยลามิเนต หินธรรมชาติ (หินแกรนิต หินอ่อน) หินเทียม สเตนเลส ฯลฯ แต่สำหรับวัสดุที่เหมาะสำหรับท็อปเคาน์เตอร์ครัวไทย ซึ่งมักพิจารณาเรื่องคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานควบคู่กับงบประมาณเป็นสำคัญ แนะนำให้เลือกใช้เป็น หินแกรนิต หินเทียม และกระเบื้องเซรามิก

สำหรับหินแกรนิตเป็นวัสดุที่ราคาไม่สูงมาก หาซื้อได้ง่าย มีสีและลวดลายตามธรรมชาติ มีความแข็งแกร่งสูง แต่ยังคงดูดซึมน้ำได้ดี มีรูพรุน จึงเป็นที่มาของการสะสมเชื้อโรค เชื้อรา หรือตะไคร่ได้ง่าย ดังนั้น หากเลือกใช้หินแกรนิตควรทาด้วยน้ำยาเคลือบผิวให้ทั่วทุกด้านของแผ่นหินก่อนนำไปติดตั้ง ส่วนหินเทียมจะมีให้เลือกใช้หลายประเภท เช่น แบบที่เป็นอะคริลิก 100% หรือ อะคริลิกผสมโพลิเมอร์ ซึ่งไม่ดูดซึมน้ำ และสามารถดูแลทำความสะอาดได้ง่าย แต่ต้องระวังเรื่องความร้อนจากภาชนะใส่อาหารจะทำให้พื้นผิวเสียหายได้ง่าย จึงควรเตรียมที่วางของร้อนไว้ หรือปรึกษากับผู้ผลิตให้ออกแบบพื้นที่วางของร้อนโดยเฉพาะ สำหรับกระเบื้องเซรามิก ปัจจุบันมีหลายขนาดให้เลือกใช้ ซึ่งนอกจากกระเบื้องที่มีขนาดและความหนาปกติแล้ว ยังมีกระเบื้องขนาดใหญ่พิเศษที่ความหนาเหมือนหินธรรมชาติด้วย มีข้อดีเรื่องการดูดซึมน้ำต่ำ ทำความสะอาดได้ง่าย แต่หากมีรอยต่อระหว่างแผ่น จะต้องหมั่นดูแลร่องยาแนวอย่างสม่ำเสมอ

เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1
ภาพ: ตัวอย่างการปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้วยหินแกรนิต ขอขอบคุณ: ห้องครัวคุณเชียงราย อัศวพิชญโชติ
เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1
ภาพ: ตัวอย่างการปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้านบนด้วยหินเทียม
เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1
ภาพ: ตัวอย่างการปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้วยกระเบื้องเซรามิก

เลือกวัสดุปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ให้เข้ากับสไตล์การตกแต่ง

ก่อนปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ด้วยวัสดุตกแต่งต่างๆ ควรมีการเตรียมพื้นผิวให้เรียบร้อยทั้งด้านในและด้านนอกผนังเคาน์เตอร์เช่นเดียวกับการเตรียมพื้นผิวผนังก่อนติดตั้งวัสดุตกแต่ง ซึ่งวัสดุปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ครัวไทยที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้กระเบื้องเซรามิก ปูนขัดมัน และลามิเนต

สำหรับการปิดผิวด้วยกระเบื้องเซรามิกนั้นมีข้อดีคือมีขนาด ผิวสัมผัส สีสัน และลวดลายให้เลือกหลากหลาย เหมาะกับทุกสไตล์การตกแต่ง โดยหากเป็นผิวมันวาวจะดูแลทำความสะอาดง่าย ส่วนการตกแต่งพื้นผิวด้วยปูนขัดมันที่เหมาะกับการตกแต่งบ้านในสไตล์ลอฟต์ ซึ่งลวดลายที่สวยงาม ไม่แตกร้าวต้องอาศัยฝีมือช่างผู้เชี่ยวชาญ แต่บางกรณีอาจมีผงปูนหลุดล่อนออกมาได้ แนะนำให้ทาด้วยน้ำยาเคลือบผิวให้ทั่วถึง หากเลือกใช้ลามิเนตในการปิดผิวที่เคาน์เตอร์ครัวไทย พื้นผิวปูนฉาบจะต้องเรียบสม่ำเสมอ ได้ระดับดิ่งฉาก เมื่อติดตั้งลามิเนตซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบาง (ด้วยกาว) จะได้เรียบร้อย ไม่กระเดิดหรือมีตะปุ่มตะป่ำ ลามิเนตมีสีสัน ลวดลาย และผิวสัมผัสให้เลือกใช้มากมายจึงเข้าได้กับทุกสไตล์ อย่างไรก็ตาม ลามิเนตมีโอกาสหลุดล่อนได้ง่ายหากต้องสัมผัสความชื้นเป็นประจำ ขณะใช้งานจึงต้องระวังและมีการดูแลรักษาอย่างดี

เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1
ภาพ: ตัวอย่างการตกแต่งปิดผิวโดยรอบเคาน์เตอร์ครัวด้วยกระเบื้องเซรามิก และปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ด้วยหินเทียม
เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1
ภาพ: ตัวอย่างการเลือกใช้เคาน์เตอร์คอนกรีตมวลเบาสำเร็จรูปที่ปิดผิวโดยรอบและตกแต่งท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้วยปูนขัดมัน

นอกจากการเลือกใช้วัสดุเคาน์ตอร์ วัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์ และวัสดุปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ให้สวยงามและตอบโจทย์แล้ว ยังมีหน้าบานตู้หรือลิ้นชัก และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ที่ควรเลือกให้เข้ากับสไตล์โดยรวมของเคาน์เตอร์และเหมาะสมกับการใช้งาน

เชิญชมตัวอย่างสินค้าได้ที่ร้าน

หจก. ต.วิวัฒน์ค้าวัสดุภัณฑ์ (1987)

TOWIWAT HOUSING EXPERT BY SCG

Tags
scg solar roof กระเบื้องหลังคา การติดตั้งฉนวนกันความร้อน ครัวไทย คอนกรีตสําเร็จรูป ซีแพค จัดสวนในบ้าน ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน scg ฉนวนกันความร้อน STAY COOL ซ่อมหลังคา ซ่อมหลังคาบ้าน ซ่อมหลังคาบ้าน รั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ดูแลรักษา ตกแต่งบ้าน ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ต่อเติม ต่อเติมครัว ต่อเติมครัวหลังบ้าน ต่อเติมครัวใหม่ ต่อเติมหลังคา บริการซ่อมหลังคาบ้าน บล็อกปูพื้น บ้านร้อน บ้านสร้างใหม่ ปรับปรุงบ้าน ปัญหาบ้านร้อน ปิดโพรงใต้บ้าน ฝ้าเพดาน ระบบหลังคาโซลาร์ ลดร้อนให้บ้าน สมาร์ทบอร์ด หลังคา scg หลังคากันสาด หลังคารั่ว หลังคา โซล่าเซลล์ หลังคาโซล่าเซลล์ ราคา ฮวงจุ้ย เคาน์เตอร์ครัว เสือ มอร์ตาร์ เอสซีจี ซ่อมหลังคา แต่งบ้าน แต่งบ้านเสริมมงคล แต่งบ้านให้น่าอยู่ แผ่นสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี

โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว

  1. เคาน์เตอร์ครัวไทย การเลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ วัสดุกรุท็อป และวัสดุปิดผิว ตอนที่ 1
    เลือกใช้วัสดุเคาน์เตอร์ที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี วัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์ต้องแกร่งและดูแลง่าย อีกทั้งเลือกวัสดุปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ที่เข้ากับสไตล์การตกแต่ง

ใส่ความเห็น

×