5 ปัญหาหลังคาและแนวทางป้องกัน สำหรับบ้านสร้างใหม่ Post published:22/03/2022 Post category:ดูแลรักษา Post comments:1 Comment Reading time:3 mins read Post author:Webplandee.com 5 ปัญหาหลังคาและแนวทางป้องกัน สำหรับบ้านสร้างใหม่ (หมวด : ดูแลรักษา) 5 ปัญหาหลังคาและแนวทางป้องกัน สำหรับบ้านสร้างใหม่ ทำความเข้าใจปัญหาหลังคา ทั้งหลังคารั่ว กระเบื้องหลังคาหลุด หลังคาแอ่น เบี้ยว โครงหลังคาไม่แข็งแรง รวมไปถึงขั้นตอนก่อนสร้างอย่างการคำนวณกระเบื้องหลังคา เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านได้ทราบเตรียมรับมือป้องกันอย่างถูกต้อง “หลังคา” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ ของบ้าน เพราะเป็นด่านแรกที่จะช่วยป้องกันสมาชิกในบ้านจากแสงแดด ลม และฝน แต่รู้ไหมว่า บ้านสร้างใหม่ที่เมื่ออยู่อาศัยไปได้สักพัก กลับมีปัญหาหลังคามากมาย ซึ่งหลายปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ช่วงต้นของการก่อสร้าง 1. ปัญหาหลังคารั่วซึม หลุดปลิว เข้าหน้าฝนทีไร หลายบ้านมักมีความกังวลใจถึงปัญหาหลังคารั่วที่อาจเกิดขึ้น เพราะหากเกิดการรั่วซึม นอกจากฝ้าเพดาน และเฟอร์นิเจอร์จะเสียหายแล้ว ระบบไฟฟ้าก็มีโอกาสลัดวงจรและเป็นอันตรายต่อชีวิตคนในบ้านได้ ปัญหาหลังคารั่วมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการขาดความชำนาญของช่างติดตั้งหลังคา วัสดุไม่ได้มาตรฐานหรือชำรุด เมื่อเวลาผ่านไปจึงเกิดการแตกร้าวรั่วซึมก่อนเวลาอันควร นอกจากนั้นยังมีอีกปัญหาคือ หลังคาหลุดปลิว ที่พบมากในหน้าฝน ช่วงที่มีลม พายุ ซึ่งปัญหานี้มีสาเหตุหลักมาจากการไม่ได้ใช้อุปกรณ์ยึดกระเบื้องหลังคาเข้ากับโครงหลังคาอย่างถูกวิธีนั่นเอง แนวทางการป้องกันปัญหาเหล่านี้คือ การเลือกวัสดุที่มีมาตรฐานและตรวจสอบทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพดีก่อนการติดตั้ง รวมถึงเลือกช่างที่มีความชำนาญงานหลังคา ติดตั้งและยึดกระเบื้องอย่างถูกวิธีตามมาตรฐานที่ผู้ลิตกำหนด และเมื่อติดตั้งเสร็จควรมีการตรวจอีกครั้งว่าไม่มีกระเบื้องแตกร้าวที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการรั่วซึม ภาพ: ตัวอย่างการมุงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่ทำให้เกิดปัญหาหลังคารั่วหรือหลุดปลิว ที่อาจสร้างความเสียหายและเป็นอันตรายกับคนในบ้านได้ 2. ปัญหาหลังคาแอ่น หลังคาแอ่น เป็นอีกปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดตั้งแต่ช่วงการออกแบบโครงสร้าง (หรือการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบ) เช่น จำนวนเสาที่มารองรับคาน แป อะเส ไม่เพียงพอ หรือแม้กระทั่งการคำนวณขนาดของเหล็กผิดพลาด ทำให้ผู้รับเหมาสั่งเหล็กขนาดไม่เต็มตามมาตรฐานมาก่อสร้าง จึงไม่สามารถรองรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมดได้ ทำให้เกิดปัญหาหลังคาแอ่นในที่สุด การป้องกันปัญหาเหล่านี้ สามารถทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ โดยเลือกโครงหลังคาที่ได้มาตรฐาน เหล็กเต็ม ทนทาน ไม่เป็นสนิม เพื่อลดโอกาสเกิดปัญหาหลังคาแอ่นที่แก้ไขยากและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ภาพ: ปัญหาหลังคาแอ่น หากเกิดขึ้นแล้วจะแก้ไขยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก 3. ปัญหาหลังคาเบี้ยว หลังคาเบี้ยว ปัญหานี้สามารถสังเกตได้ชัดเจนจากแนวลอนของกระเบื้องหลังคาที่ไม่ได้ระดับตรงกัน เกิดจากฝีมือของช่างติดตั้งหลังคา ที่วัดระยะอะเสและแปไม่ได้ระดับ รวมถึงติดตั้งแผ่นกระเบื้องหลังคาที่ซ้อนทับแบบไม่ได้แนว ผืนหลังคาจึงเบี้ยว ที่นอกจากจะดูไม่สวยงามแล้ว ยังเสี่ยงเกิดปัญหารั่วซึมช่วงรอยต่อที่ไม่แนวสนิท ซึ่งการแก้ไขทำได้ยาก ต้องรื้อหลังคามุงใหม่ทั้งผืน ที่กินเวลาและค่าใช้จ่ายบานปลาย แนวทางป้องกันปัญหานี้คือ เลือกช่างที่มีฝีมือ ติดตั้งงานโครงสร้างหลังคา อะเส แป ให้ได้ระดับ รวมถึงติดตั้งกระเบื้องหลังคาอย่างถูกวิธี ภาพ: ปัญหาหลังคาเบี้ยว สังเกตจากแนวลอนที่ไม่ได้ระดับตรงกัน ซึ่งการแก้ไขจะทำได้ยาก ต้องรื้อกระเบื้องมุงใหม่ทั้งผืน 4. ปัญหาโครงหลังคาไม่แข็งแรง เสี่ยงทรุด เสี่ยงพัง การทำหลังคา หลายคนอาจนึกถึงรูปทรง กระเบื้องมุงหลังคา รูปแบบ (ลอนหรือเรียบ) สีสัน หากแต่ภายใต้ผืนกระเบื้องที่สวยงามนั้น ต้องมีการรองรับด้วยโครงหลังคา อันประกอบไปด้วยหลายส่วน เช่น แป จันทัน อะเส เชิงชาย ซึ่งต้องประกอบกันเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง รองรับน้ำหนักกระเบื้องหลังคาได้ดี ซึ่งหากไม่ได้ถูกออกแบบและคำนวณขนาดและวัสดุคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและใช้ช่างติดตั้งที่มีความเชี่ยวชาญงานหลังคาแล้ว ก็มีโอกาสเสี่ยงที่โครงหลังคาจะไม่ได้มาตรฐาน รับน้ำหนักไม่ได้ เป็นสนิม ผุกร่อน จนหลังคาทรุดพังได้ แนวทางป้องกันปัญหานี้คือ ต้องมีการออกแบบและคำนวณสเปกวัสดุงานโครงสร้างอย่างเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ เลือกวัสดุที่มีคุณภาพ เลือกใช้ช่างที่มีฝีมือ เชี่ยวชาญงานหลังคา ติดตั้งตามมาตรฐานผู้ผลิต ภาพ: ปัญหาหลังคาทรุดพัง ส่วนใหญ่มักเกิดจากที่ไม่ได้รับการออกแบบคำนวณวัสดุโครงสร้างอย่างเหมาะสมและไม่ได้ติดตั้งโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ 5. ปัญหาจากการคำนวณการใช้วัสดุที่ขาดหรือเหลือมากเกินไป จริงอยู่ที่เราไม่สามารถทราบจำนวนวัสดุมุงที่แน่นอน 100% ได้ หากคำนวณวัสดุไม่เพียงพอ ก็จะต้องสั่งเพิ่ม ต้องรอของทำให้เสียเวลา โดยส่วนใหญ่แล้วช่างจะคำนวณประมาณการวัสดุสำรองเผื่อไว้ แต่หากสำรองไว้มากเกินไปงบก็จะบานปลายเกินความจำเป็น การป้องกันปัญหานี้ สามารถทำได้โดย ให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละร้านคำนวณปริมาณเผื่อไว้ตามความเหมาะสม ปัจจุบัน บริการมุงหลังคาครบวงจร เอสซีจี ซึ่งเป็นบริการมุงหลังคาสำหรับบ้านสร้างใหม่ มีโปรแกรมออกแบบประมาณการหลังคา ที่สามารถคำนวณปริมาณการใช้งานวัสดุ ทั้งโครงสร้าง กระเบื้องหลังคา และอุปกรณ์หลังคาได้อย่างแม่นยำ พร้อมแสดงราคาประมาณการเบื้องต้นให้ทราบก่อนเลือกรับบริการได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีทีมช่างติดตั้งหลังคา ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางและมากประสบการณ์ พร้อมรับประกันงานติดตั้งจาก เอสซีจี ขอขอบคุณwww.scghome.comwww.rangnam.scg-smarthome.comwww.scg-smarthome.comwww.scgmortar.scg-towiwat.comwww.webplandee.comwww.taradwebsite.com Facebook : หจก. ต.วิวัฒน์ค้าวัสดุภัณฑ์ (1987) จำกัด Tags: 5 ปัญหาหลังคาและแนวทางป้องกัน แบ่งปันสิ่งนี้ Share this content Opens in a new window Opens in a new window Opens in a new window โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว Webplandee.com 22/04/2022 เข้าสู่ระบบเพื่อตอบ 5 ปัญหาหลังคาและแนวทางป้องกัน สำหรับบ้านสร้างใหม่ ทำความเข้าใจปัญหาหลังคา ทั้งหลังคารั่ว กระเบื้องหลังคาหลุด หลังคาแอ่น เบี้ยว โครงหลังคาไม่แข็งแรง รวมไปถึงขั้นตอนก่อนสร้างอย่างการคำนวณกระเบื้องหลังคา เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านได้ทราบเตรียมรับมือป้องกันอย่างถูกต้อง ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบคุณต้อง logged ใน เพื่อโพสต์ความคิดเห็น คุณอาจจะชอบ ปัญหาหลังคารั่วซึม ตอนที่ 2 : จุดเสี่ยงหลังคารั่วบนผืนหลังคา 13/01/2022 รวมปัญหาห้องน้ำ พบบ่อย แก้ไขได้ 04/01/2024 WORK FROM HOME จัดพื้นที่ยังไงให้เวิร์ค 13/08/2021
Webplandee.com 22/04/2022 เข้าสู่ระบบเพื่อตอบ 5 ปัญหาหลังคาและแนวทางป้องกัน สำหรับบ้านสร้างใหม่ ทำความเข้าใจปัญหาหลังคา ทั้งหลังคารั่ว กระเบื้องหลังคาหลุด หลังคาแอ่น เบี้ยว โครงหลังคาไม่แข็งแรง รวมไปถึงขั้นตอนก่อนสร้างอย่างการคำนวณกระเบื้องหลังคา เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านได้ทราบเตรียมรับมือป้องกันอย่างถูกต้อง
5 ปัญหาหลังคาและแนวทางป้องกัน สำหรับบ้านสร้างใหม่ ทำความเข้าใจปัญหาหลังคา ทั้งหลังคารั่ว กระเบื้องหลังคาหลุด หลังคาแอ่น เบี้ยว โครงหลังคาไม่แข็งแรง รวมไปถึงขั้นตอนก่อนสร้างอย่างการคำนวณกระเบื้องหลังคา เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านได้ทราบเตรียมรับมือป้องกันอย่างถูกต้อง