ขั้นตอนตรวจเช็คสาเหตุหลังคารั่วเบื้องต้นด้วยตัวเอง
ขั้นตอนตรวจเช็คสาเหตุหลังคารั่วเบื้องต้นด้วยตัวเอง จากภายนอกบ้าน และอีก 2 ขั้นตอนตรวจสอบได้เองจากภายในบ้าน เพื่อจะได้รีบดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขก่อนจะสร้างความเสียหายมากขึ้น
หลังคาเป็นองค์ประกอบสำคัญของบ้านที่ช่วยกันแดด ลม และฝน เราจึงควรหมั่นสังเกตและตรวจสอบจุดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบ้านเก่า หรือบ้านที่อยู่อาศัยมาได้สักระยะ อาจพบปัญหาหลังคารั่วในช่วงฤดูฝนหรือมีพายุเข้าได้ ซึ่งมักจะทำให้เกิดรอยคราบน้ำ ราดำ และสีพองลอกล่อนบนฝ้าเพดานหรือผนังบ้าน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาบานปลายจนเกินไป เรามี 7 ขั้นตอนตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาหลังคารั่วได้ด้วยตัวเอง โดยการสังเกตจากภายนอก 5 ขั้นตอน และตรวจสอบจากภายในบ้าน 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
5 ขั้นตอนสังเกตหลังคาจากภายนอกบ้าน
สังเกตรูปทรงหลังคาว่าได้ระดับ มีความสมมาตรดี สวยงาม ไม่เอียงหรือบิดเบี้ยว หากพบสิ่งผิดสังเกต อาจเกิดจากโครงหลังคาเริ่มเสียหาย เช่น แปแอ่นตัว
กระเบื้องมุงหลังคาติดตั้งได้แนว ไม่เผยอ เพราะส่วนที่กระเบื้องขยับหลุดจากแนว หรือเผยอขึ้น ทำให้น้ำฝนรั่วลงได้ง่าย
ลองดูว่ามีรอยร้าวบนแผ่นกระเบื้องหลังคาหรือไม่
ครอบหลังคาทั้งแนวสันหลังคาและตะเข้สันปิดมิดชิดหรือไม่ หากเป็นครอบเปียก ให้สังเกตว่าปูนใต้ครอบมีรอยร้าวหรือไม่ เพราะเป็นจุดที่น้ำค่อยสะสมและซึมผ่านได้
มองหาคราบน้ำบนฝ้าชายคาว่ามีหรือไม่ ถึงแม้จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายภายในบ้าน แต่ส่งผลต่อความสวยงามและความเสียหายของวัสดุฝ้าชายคาได้เช่นกัน
2 ขั้นตอนตรวจสอบหลังคารั่วจากภายในบ้าน
สังเกตว่ามีรอยคราบน้ำที่ฝ้าเพดาน (หรือไหลมาที่ผนัง) ตลอดจนรอยบวมพองของสีหรือไม่ กรณีนี้ถ้าพบแล้วปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้ฝ้าเพดาน (ยิปซัม) เปื่อยหรือพังถล่มลงมาได้หากพบคราบน้ำที่ฝ้าเพดาน ควรเปิดช่องเซอร์วิส หรือเจาะฝ้าเป็นช่องพอดีตัวเพื่อหาสาเหตุหรือจุดที่หลังคารั่วซึม โดยมองหาช่องที่แสงที่สามารถส่องเข้ามาภายในได้ (ควรตรวจสอบช่วงกลางวัน) หรือมองหาคราบน้ำที่โครงหลังคา เพราะบางครั้งน้ำฝนอาจจะไหลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ เช่น ในกรณีบ้านทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หรือบ้านแฝด จุดที่น้ำฝนรั่วอาจอยู่ที่บ้านข้างๆ แต่น้ำฝนก็สามารถไหลมาตามโครงหลังคามาถึงบ้านของเราได้เช่นกัน
หากพบคราบน้ำที่ฝ้าเพดาน ควรเปิดช่องเซอร์วิส หรือเจาะฝ้าเป็นช่องพอดีตัวเพื่อหาสาเหตุหรือจุดที่หลังคารั่วซึม โดยมองหาช่องที่แสงที่สามารถส่องเข้ามาภายในได้ (ควรตรวจสอบช่วงกลางวัน) หรือมองหาคราบน้ำที่โครงหลังคา เพราะบางครั้งน้ำฝนอาจจะไหลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ เช่น ในกรณีบ้านทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หรือบ้านแฝด จุดที่น้ำฝนรั่วอาจอยู่ที่บ้านข้างๆ แต่น้ำฝนก็สามารถไหลมาตามโครงหลังคามาถึงบ้านของเราได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่าการตรวจสอบหาสาเหตุของหลังคารั่วนั้นไม่ยากเกินความสามารถของเจ้าของบ้านเท่าใดนัก สามารถนำไปใช้ตรวจบ้านได้ทั้งก่อนเข้าอยู่ หรือตรวจสอบเป็นประจำทุกๆ ปี และหากต้องการซ่อมแซมแก้ไข ควรเลือกใช้ช่างซ่อมหลังคาที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพราะสามารถหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อซ่อมแซมแก้ไขได้อย่างถูกวิธีตามมาตรฐาน รวมถึงมีการรับประกันผลงานที่ทำให้เรามั่นใจได้มากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนตรวจเช็คสาเหตุหลังคารั่วเบื้องต้นด้วยตัวเอง จากภายนอกบ้าน และอีก 2 ขั้นตอนตรวจสอบได้เองจากภายในบ้าน เพื่อจะได้รีบดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขก่อนจะสร้างความเสียหายมากขึ้น