ซื้อสินค้า โทร.02-5110240 | 081-4563232

ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย

ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย

ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย

ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย รวมคำถามพบบ่อยจากปัญหาหลังคารั่วซึม ทั้งสาเหตุและแนวทางแก้ไขอย่างถูกต้อง รวมถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมหลังคารั่วซึม

เพราะปัญหาหลังคารั่วเป็นเรื่องน่าหนักใจ ทั้งยังอยู่ในตำแหน่งที่ยากในการตรวจสอบสำหรับเจ้าของบ้าน การหาสาเหตุและซ่อมแซมแก้ไขด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องลำบาก บางครั้งให้ช่างซ่อมแล้วก็ไม่หาย ปัญหาเหล่านี้เป็นที่มาของคำถามยอดฮิตซึ่ง SCG HOME จะขอนำมาเล่าสู่กันฟังพร้อมกับคำตอบให้หายข้องใจ

1) หลังคารั่ว เกิดจากอะไร ?

A : หลังคารั่วโดยทั่วไปเกิดจาก 3 สาเหตุ

  1. วัสดุมุงและอุปกรณ์หลังคาเสื่อมสภาพ เนื่องด้วยหลังคาเป็นส่วนที่ต้องเผชิญสภาพอากาศ โดนแดดและฝนอยู่ตลอด พอใช้งานไปหลายปี ก็มีโอกาสที่วัสดุอุปกรณ์จะเสื่อมตามกาลเวลา เช่น กระเบื้องหลังคาแตกร้าว หรือโดนลมพัดหลุดเผยอ ปูนยึดครอบสันและตะเข้สันเกิดรอยร้าวรั่วซึม แผ่นปิดรอยต่อเสื่อมสภาพ วัสดุโลหะอย่างสกรูยึดกระเบื้อง หรือตะเข้ราง รางน้ำฝน เกิดการผุพังเป็นสนิม

  2. ครอบหลังคา หรือปีกนก ค.ส.ล. แตกร้าว ส่วนประกอบหลังคาที่เป็นปูน หากใช้งานไปนาน หรือติดตั้งปูนครอบไม่ถูกวิธี ก็อาจเกิดการแตกร้าวเป็นช่องทางให้น้ำซึมเข้าจนกลายเป็นปัญหาหลังคารั่วซึมได้

  3. การติดตั้งที่ผิดวิธี ถึงแม้จะเป็นหลังคาบ้านที่สร้างใหม่ได้ไม่นาน หากช่างมุงกระเบื้องและติดตั้งอุปกรณ์ผิดวิธี เช่น ใส่อุปกรณ์ไม่ครบ การสลับแผ่นกระเบื้อง ระยะซ้อนทับกระเบื้อง และองศาหลังคาไม่เป็นไปตามคู่มือติดตั้ง เป็นต้น ก็อาจทำให้หลังคารั่วซึมได้

  4. รางน้ำบนหลังคาอุดตัน บางครั้งอาจมีเศษกิ่งไม้ ใบไม้ หลุดร่วงลงมาอุดขวางในรางน้ำฝนหรือตะเข้รางบริเวณเชิงชาย พอน้ำฝนในรางระบายได้ไม่ดี ก็อาจล้นไหลย้อนเข้าใต้กระเบื้องหลังคาและหยดลงในบ้าน กลายเป็นปัญหาหลังคารั่วซึมได้
ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: ปัญหากระเบื้องแตกร้าวบริเวณรอยต่อสันหลังคากับตะเข้ราง ทำให้หลังคารั่วซึมได้
ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: รอยแตกร้าวของปีกนก ค.ส.ล. (บน) และการใส่ปูนครอบหลังคาล้นเกินไป (ล่างซ้าย) หรือบางเกินไป (ขวา) ซึ่งเป็นต้นเหตุให้หลังคารั่วซึมได้
ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: รอยแตกร้าวของปีกนก ค.ส.ล. (บน) และการใส่ปูนครอบหลังคาล้นเกินไป (ล่างซ้าย) หรือบางเกินไป (ขวา) ซึ่งเป็นต้นเหตุให้หลังคารั่วซึมได้

2) เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดปัญหาหลังคารั่ว อยากทราบวิธีสังเกต ?

A : เราสามารถสังเกตอาการหลังคารั่วซึมได้ 2 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 เห็นคราบน้ำบนแผ่นฝ้าเพดานบริเวณที่เกิดเสียง แสดงว่าน้ำจากหลังคารั่วสะสมบนฝ้ามาระยะหนึ่ง

  • ระยะที่ 2 น้ำไหลหยดจากฝ้าเพดาน แผ่นฝ้าเพดานเริ่มบวมพอง เสียหายมาก ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและซ่อมแซมหลังคาโดยเร็ว ก่อนที่ปัญหาหลังคารั่วครั้งนี้จะสร้างปัญหาอื่นตามมา เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร พื้น/ผนัง/เฟอร์นิเจอร์ บวมพอง อับชื้น เป็นเชื้อรา
ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: ตัวอย่างคราบน้ำบนฝ้าเพดานจากปัญหาหลังคารั่ว

หากเจ้าของบ้านอยากสำรวจเบื้องต้นเองก่อน ให้ลองเปิดฝ้าขึ้นไปดูโถงหลังคา หาจุดที่แสงลอดหรือไล่ดูรอยคราบน้ำตามโครงหลังคา ก็อาจพบจุดรั่วซึมเบื้องต้นที่เห็นด้วยตาเปล่าได้ อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขควรให้ทีมผู้เชี่ยวชาญเป็นคนตรวจสอบและลงมือ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหารั่วซ้ำในระยะยาว

3) ซ่อมหลังคารั่วแล้วไม่หาย กลับมารั่วซ้ำอีก เป็นเพราะอะไร ?

A : สาเหตุหลักที่ซ่อมหลังคารั่วแล้วไม่หายขาด คือ 1) ช่างไม่มีความรู้ความชำนาญเรื่องหลังคารั่วมากพอ วิเคราะห์ปัญหาผิด จึงซ่อมแซมแก้ไขได้ไม่ตรงจุด 2) ใช้วิธีซ่อมแบบชั่วคราว เช่น ยาซิลิโคน ทาน้ำยากันซึม ใข้ปูนอุดในจุดรั่วซึม เป็นวิธีซ่อมหลังคารั่วที่เปรียบเสมือนการปฐมพยาบาลเท่านั้น ผ่านไป 1-2 ปี พอวัสดุซ่อมเสื่อมสภาพ ก็มีโอกาสที่หลังคาจะกลับมารั่วอีก

ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: ตัวอย่างการซ่อมหลังคารั่วโดยใช้วัสดุอุดตามรอยต่อ รอยแตกร้าว ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราว และมีโอกาสกลับมารั่วซ้ำได้ง่าย

4) ควรซ่อมหลังคารั่วอย่างไร ปัญหาถึงจะหายขาด ?

A : การจะซ่อมหลังคารั่วให้หายขาด ต้องพึ่งทีมผู้ชำนาญในการตรวจสอบ และซ่อมแซมอย่างตรงจุดด้วยวิธีที่แก้ไขได้ในระยะยาว เช่น หากกระเบื้องหรือวัสดุอุปกรณ์เสื่อมสภาพ จะต้องรื้อเปลี่ยนใหม่ หากเป็นปัญหาที่การติดตั้งก็ต้องหาวิธีแก้ไขเฉพาะ เช่น ระยะระหว่างปีกนก ค.ส.ล. สั้นไป หรือห่างจากกระเบื้องมากเกินไป อาจต้องติดวัสดุเสริม เป็นต้น กรณีตำแหน่งรั่วซึมมีหลายจุด การรื้อเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาใหม่ทั้งหมด (Re-roof) อาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการซ่อมหลังคารั่วในระยะยาว หรือหากเป็นหลังคาบ้านทาวน์เฮาส์มุงกระเบื้องลอนคู่ อาจใช้วิธีมุงแผ่นเมทัลชีททับ (Top Up Roof) ก็ช่วยแก้ปัญหารั่วซึมได้ด้วยเช่นกัน

ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
gภาพ: ตัวอย่างหลังจากการซ่อมหลังคารั่วเฉพาะตำแหน่ง
ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: ตัวอย่างเปรียบเทียบหลังคาเดิมที่มีปัญหารั่วซึม (ซ้าย) และกับหลังคาที่เปลี่ยนกระเบื้องใหม่ทั้งผืนเรียบร้อยแล้ว (Re-Roof)
ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: ตัวอย่างการซ่อมหลังคารั่วสำหรับบ้านทาวน์เฮาส์ โดยใช้แผ่นเมทัลชีทมุงทับกระเบื้องลอนคู่เดิม (Top Up Roof)

5) ซ่อมหลังคารั่วใช้เวลากี่วัน?

A : ระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความยากง่ายในการซ่อม อาจเป็นระยะสั้น 1-3 วัน หรือระยะยาว 5-7 วัน

6) ขณะซ่อมหลังคารั่ว หรือเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา สมาชิกในบ้านต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือไม่ ?

A : หากเป็นบริการซ่อมหลังคาหรือรื้อเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาโดย SCG ทีมงานจะแบ่งการทำงานทีละส่วน ทำให้เจ้าของบ้านสามารถอยู่อาศัยบ้านได้ตามปกติ ไม่ต้องย้ายออกจากบ้านในขณะที่ช่างกำลังดำเนินงาน

ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: ตัวอย่างการทำงานของช่างขณะรื้อเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา (Re-Roof) ซึ่งเจ้าของบ้านยังสามารถอยู่อาศัยในบ้านได้

7) จะซ่อมหลังคารั่วหรือเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาในฤดูฝนได้หรือไม่ ?

A : หากเป็นบริการซ่อมหลังคารั่ว หรือรื้อเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาโดย SCG สามารถให้บริการในฤดูฝนได้ เนื่องจากทีมช่างจะวางแผนแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ ไม่ได้รื้อกระเบื้องออกทีเดียวทั้งหมด และมีการคลุมผ้าใบกันฝนกันฝุ่นเมื่อจบงานแต่ละวัน ![เปลี่ยนหลังคาบ้าน Re Roof หลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว ทาวน์เฮาส์ อุดรอยรั่วหลังคา หลังคารั่วซึม หลังคาบ้านรั่ว แก้ปัญหาหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว

ปัญหา หลังคารั่ว กับ 8 คำถามสุดฮิตชวนสงสัย
ภาพ: ตัวอย่างการใช้ผ้าใบคลุมปิดหลังจากดำเนินงานเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาเสร็จในแต่ละวัน

8) บริการซ่อมหลังคารั่วโดย SCG แพงหรือไม่ ?

A : บริการซ่อมหลังคารั่วโดย SCG เป็นการซ่อมแบบถาวรโดยช่างผู้ชำนาญ พร้อมรับประกันผลงานเป็นเวลา 1 ปี ราคาค่าบริการจึงสูงกว่าการซ่อมแบบชั่วคราวทั่วไป อย่างไรก็ตาม ทางทีมฯ จะมีการสำรวจหลังคาก่อน เพื่อนำเสนอข้อมูลพร้อมชี้แจงปัญหาและแนวทางแก้ไข รวมถึงราคาค่าบริการที่ชัดเจน ให้เจ้าของบ้านทราบเพื่อทำการตัดสินใจก่อนจะรับบริการ ดังนั้น ปัญหางบบานปลายที่คาดเดาไม่ได้ระหว่างซ่อมแซมจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ใส่ความเห็น

×