ซื้อสินค้า โทร.02-5110240 | 081-4563232

ใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ดทำผนังเบา แทนผนังก่ออิฐได้ไหม ?

ใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ดทำผนังเบา แทนผนังก่ออิฐได้ไหม ?

ใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ดทำผนังเบา แทนผนังก่ออิฐได้ไหม?

ใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ดทำผนังเบา แทนผนังก่ออิฐได้ไหม ? เปรียบเทียบคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ของผนังสมาร์ทบอร์ดกับผนังก่ออิฐ ที่เริ่มมีการใช้งานทดแทนกันทั้งผนังภายนอกและภายใน

การทำผนังโครงเบาจากแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์สมาร์ทบอร์ด ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสามารถใช้กับงานผนังได้ทั้งภายในและภายนอก ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว น้ำหนักเบากว่าผนังก่ออิฐถึง 6 เท่า หนึ่งในคำถามของใครหลายคนคือ ผนังเบานี้จะใช้ทดแทนผนังก่ออิฐได้จริงหรือ? ทั้งเรื่องการรองรับการแขวนของ การกันเสียง การกันความร้อน การทนฝน และการทนไฟ

รองรับการแขวนของ ของผนังเบาสมาร์ทบอร์ดและผนังก่ออิฐ

ผนังก่ออิฐ เป็นผนังที่สามารถรับน้ำหนักของที่แขวนได้หลากหลาย โดยน้ำหนักต่อจุดที่ผนังอิฐรับได้คือประมาณ 30 กิโลกรัมต่อจุด (ความสามารถในการรับน้ำหนักของอิฐอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและกรรมวิธีของผู้ผลิตแต่ละราย รวมถึงขนาดพุกและจำนวนพุกที่จะใช้ยึดแขวนของ) ส่วนผนังโครงเบาจากแผ่นสมาร์ทบอร์ดความหนา 8 มม. จะรับน้ำหนักได้แตกต่างขึ้นอยู่กับตัวยึดที่ใช้ สำหรับของน้ำหนักเบา สามารถเลือกใช้ตะปูเพื่อแขวนของทั่วไป เช่น กรอบรูป นาฬิกาแขวน ฯลฯ จะรับน้ำหนักได้ประมาณ 3-4 กิโลกรัม สำหรับของที่มีน้ำหนักมาก ควรใช้พุกพลาสติกผีเสื้อ PT-13 ที่ใช้งานคู่กับตะปูเกลียว จะสามารถรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 80 กิโลกรัมต่อจุด ผนังเบาจึงรองรับน้ำหนักของที่แขวนได้ไม่ต่างกับผนังก่ออิฐ

ภาพ: (ซ้าย) อิฐมอญ และ (ขวา) แผ่นผนังตราช้างสมาร์ทบอร์ด ขอบคุณภาพขวา: บริษัท สยามไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด
ภาพ: (ซ้าย) อิฐมอญ และ (ขวา) แผ่นผนังตราช้างสมาร์ทบอร์ด ขอบคุณภาพขวา: บริษัท สยามไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด
ภาพ: การรองรับการเจาะยึดแขวนของ ของผนังเบาสมาร์ทบอร์ดและผนังก่ออิฐ
ภาพ: การรองรับการเจาะยึดแขวนของ ของผนังเบาสมาร์ทบอร์ดและผนังก่ออิฐ
ภาพ: การติดตั้งพุกพลาสติกผีเสื้อ เพื่อยึดแขวนของบนสมาร์ทบอร์ด
ภาพ: การติดตั้งพุกพลาสติกผีเสื้อ เพื่อยึดแขวนของบนสมาร์ทบอร์ด

ค่าการกันเสียงรบกวนของผนังเบาสมาร์ทบอร์ดกับผนังก่ออิฐ

การกั้นห้องภายในบ้านทั่วไป ควรมีค่าการกันเสียงหรือ STC 38-40 โดยประมาณ ซึ่งการใช้แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ดหนา 8 มิลลิเมตร ติดตั้งบนโครงคร่าวสำเร็จจะมีค่าการกันเสียง ประมาณ STC 39 ในขณะที่ผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นฉาบปูนสองด้าน มีค่าการกันเสียง STC 38 ดังนั้นผนังเบากับผนังก่ออิฐ มีค่าการกันเสียงที่ใกล้เคียงกัน

ภาพ: ค่าการกันเสียงของ ผนังสมาร์ทบอร์ด และ ผนังก่ออิฐครึ่งแผ่น
ภาพ: ค่าการกันเสียงของ ผนังสมาร์ทบอร์ด และ ผนังก่ออิฐครึ่งแผ่น

การกันความร้อนของผนังเบาสมาร์ทบอร์ดและผนังก่ออิฐ

เมื่อเปรียบเทียบการกันความร้อน หากใช้สมาร์ทบอร์ดหนา 8 มิลลิเมตร ติดตั้งกับโครงคร่าวสำเร็จ จะมีค่าการกันความร้อนประมาณ R = 0.5 (m2 K/W) ส่วนผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นฉาบปูนสองด้าน มีค่าการกันความร้อนประมาณ R = 0.3 (m2 K/W) ดังนั้น ความร้อนจะสามารถผ่านเข้ามาภายในบ้านที่ใช้ผนังก่ออิฐได้มากกว่า ภายในบ้านจึงมีอุณหภูมิสูงกว่าบ้านที่ใช้ระบบผนังเบา

โดยธรรมชาติแล้ว อิฐมอญเป็นวัสดุที่สะสมความร้อนในตัวเอง การใช้ผนังก่ออิฐจะทำให้บ้านร้อนในช่วงกลางวันจนถึงหัวค่ำ หากต้องการให้บ้านไม่ร้อนมากนัก ทำได้โดยเลือกก่อผนังอิฐสองชั้นแล้วเว้นช่องอากาศไว้ตรงกลาง ความร้อนจะมาสะสมอยู่ที่ช่องนี้ก่อน ไม่ส่งผ่านความร้อนโดยตรงสู่ภายในบ้าน แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านลดลง และเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างอีกด้วย ส่วนผนังสมาร์ทบอร์ดสามารถใช้ควบคู่กับฉนวนกันความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายในบ้าน การทำผนังทั้งสองรูปแบบนี้ ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่ก็ช่วยประหยัดแอร์ และยังช่วยประหยัดเงินในระยะยาวอีกด้วย

ภาพ: ค่าการกันความร้อนของผนังสมาร์ทบอร์ดและผนังก่ออิฐ (ค่า R ยิ่งมาก การกันความร้อนยิ่งดี)
ภาพ: ค่าการกันความร้อนของผนังสมาร์ทบอร์ดและผนังก่ออิฐ (ค่า R ยิ่งมาก การกันความร้อนยิ่งดี)
ภาพ: การก่อผนังสองชั้นเว้นช่องว่างกลางอากาศตรงกลาง ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน
ภาพ: การก่อผนังสองชั้นเว้นช่องว่างกลางอากาศตรงกลาง ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน
ภาพ: วิธีทำผนังให้กันร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยการติดตั้งสมาร์ทบอร์ดคู่กับฉนวนกันความร้อน หรือการทำผนังก่ออิฐสองชั้น
ภาพ: วิธีทำผนังให้กันร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยการติดตั้งสมาร์ทบอร์ดคู่กับฉนวนกันความร้อน หรือการทำผนังก่ออิฐสองชั้น

ความชื้นกับผนังเบาสมาร์ทบอร์ดและผนังก่ออิฐ

ผนังภายนอกที่ต้องเจอแดดฝน หากเลือกใช้แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ดจะมีคุณสมบัติทนน้ำ ไม่เปื่อยยุ่ย ไม่บวม น้ำไม่ซึมผ่านไปอีกด้าน (แต่ไม่ควรเป็นส่วนที่แช่น้ำอยู่ตลอด) เมื่อติดตั้งผนังสมาร์ทบอร์ดเสร็จแนะนำให้ทาสีรองพื้นปูนเก่า 1 ชั้น และทาทับด้วยสีน้ำอะคริลิกชนิดทาภายนอกอย่างน้อย 2 ชั้นเพื่อการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนวัสดุอิฐมีการดูดซึมน้ำสูง หากเลือกใช้ผนังก่ออิฐควรฉาบปูนทับหน้าผนังด้านที่อยู่ภายนอก เพื่อกันไม่ให้น้ำหรือความชื้นซึมผ่านเข้ามาภายในบ้าน

ภาพ: ผนังก่ออิฐฉาบปูน
ภาพ: ผนังก่ออิฐฉาบปูน

คุณสมบัติการทนไฟของผนังเบาสมาร์ทบอร์ดและผนังก่ออิฐ

เรื่องการทนไฟควรป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า หากต้องการให้ทนไฟ 1 ชั่วโมง การใช้ผนังก่ออิฐครึ่งแผ่นฉาบด้วยปูนทั้งสองด้านจะสามารถทนไฟได้ เทียบเท่ากับ การใช้แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ดตราช้างหนา 12 มิลลิเมตรด้านละสองชั้น กรุตรงกลางด้วยฉนวนกันร้อนทนอุณหภูมิสูงตราช้าง “HI-TEMP 3850” ส่วนการทำผนังให้ทนไฟได้นานถึง 2 ชั่วโมง ต้องเป็นผนังก่ออิฐแบบเต็มแผ่นฉาบปูนทั้งสองด้านของผนัง สำหรับผนังสมาร์ทบอร์ดให้ใช้ที่ความหนา 12 มิลลิเมตรด้านละสองชั้น กรุตรงกลางด้วยฉนวนกันไฟรุ่น “Rockwool”

ภาพ: ระบบผนังทนไฟ 1 ชั่วโมง (105 นาที) ของระบบผนังโครงเบาที่ใช้ร่วมกับฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น HTI ซึ่งเทียบเท่ากับผนังก่ออิฐฉาบปูนแบบครึ่งแผ่น
ภาพ: ระบบผนังทนไฟ 1 ชั่วโมง (105 นาที) ของระบบผนังโครงเบาที่ใช้ร่วมกับฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น HTI ซึ่งเทียบเท่ากับผนังก่ออิฐฉาบปูนแบบครึ่งแผ่น

*การก่ออิฐแบบครึ่งแผ่น คือ การก่ออิฐวางตัวตามแนวยาวของผนัง เมื่อฉาบปูนเสร็จแล้วจะมีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร

ภาพ: ระบบผนังทนไฟ 2 ชั่วโมง (150 นาที) ของระบบผนังโครงเบาที่ใช้ร่วมกับฉนวนกันไฟ Rockwool เทียบเท่ากับผนังก่ออิฐฉาบปูนแบบเต็มแผ่น
ภาพ: ระบบผนังทนไฟ 2 ชั่วโมง (150 นาที) ของระบบผนังโครงเบาที่ใช้ร่วมกับฉนวนกันไฟ Rockwool เทียบเท่ากับผนังก่ออิฐฉาบปูนแบบเต็มแผ่น

*การก่ออิฐแบบเต็มแผ่น คือ การก่ออิฐวางตัวตามแนวขวางของผนัง ทำให้ผนังนั้นมีความหนามากกว่าปกติ เมื่อฉาบปูนเสร็จแล้วจะมีความหนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร

ดังนั้นเราจึงมั่นใจได้ว่า สามารถใช้ผนังสมาร์ทบอร์ดทดแทนการใช้ผนังก่ออิฐได้อย่างมั่นใจ หากมีช่างผู้เชี่ยวชาญที่ติดตั้งงานได้อย่างถูกต้องตรงตามมาตรฐานของผู้ผลิตและตามมาตรฐานในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการ สนใจ บริการติดตั้งระบบผนังโครงเบา สมาร์ทบอร์ด เอสซีจี คลิก ที่มากไปกว่านั้นคือ “สมาร์ทบอร์ด” สามารถรื้อถอนเพื่อนำไปประกอบติดตั้งใหม่ได้ จึงช่วยลดการใช้ทรัพยากรได้อีกทางหนึ่ง

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลและภาพจาก: เอกสาร Ceiling & Wall System Selection www.thaihomemaster.com

ใส่ความเห็น

×