ซื้อสินค้า โทร.02-5110240 | 081-4563232

รู้ไว้ใช่ว่า สีทากันซึมดาดฟ้า อะคริลิก PU และ Modified Silicone Acrylic

รู้ไว้ใช่ว่า สีทากันซึมดาดฟ้า อะคริลิก PU และ Modified Silicone Acrylic

รู้ไว้ใช่ว่า สีทากันซึมดาดฟ้า อะคริลิก PU และ Modified Silicone Acrylic

รู้ไว้ใช่ว่า สีทากันซึมดาดฟ้า อะคริลิก PU และ Modified Silicone Acrylic แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับสีทากันซึมดาดฟ้าที่เจ้าของบ้านคุ้นเคยดีทั้งอะคริลิก และ PU รวมถึงสีทากันซึมดาดฟ้าชนิดอื่นที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมาในปัจจุบันอย่าง โพลียูรีเทนไฮบริด และ Modified Silicone Acrylic

อะคริลิก PU (โพลียูรีเทน/Polyurethane) และซิลิโคน ต่างก็เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ 3 วัสดุยาแนวกันรั่วซึมยอดนิยม แต่ถ้าพูดถึงสีทากันซึมดาดฟ้าเพื่อแก้ไขป้องกันปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมนั้น อะคริลิก และ PU จะเป็นวัสดุที่ถูกพูดถึงบ่อย ด้วยคุณสมบัติที่สามารถกันซึมได้ดี ใช้งานง่าย ทนแดดทนฝน เจ้าของบ้านจึงมักต้องขบคิดว่าจะเลือกใช้อันไหน

ภาพ: ตัวอย่างพื้นดาดฟ้าที่ใช้สีทากันซึม

แล้วระหว่างสีทากันซึมอะคริลิก กับ PU จะเลือกอันไหนดี ?

ต้องเข้าใจก่อนว่า สีทากันซึมดาดฟ้าจะทำงานตอบโจทย์ได้ดีมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ 2 คุณสมบัติหลักๆ คือ การยึดเกาะ และความยืดหยุ่น

“การยึดเกาะที่ดี” หมายถึงว่า สีทากันซึมจะติดอยู่กับผิวดาดฟ้าของเราได้นาน ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่ต้องทาใหม่กันบ่อยๆ ส่วน “ความยืดหยุ่น” นั้น จะเป็นตัวบ่งบอกว่า เมื่อเกิดรอยแตกร้าวและการยืดหดตัวของพื้นผิวดาดฟ้า ตัวสีทากันซึมจะเอาอยู่ได้มากน้อยเพียงใดโดยไม่ฉีกขาดไปเสียก่อน ความยืดหยุ่นนี้ยิ่งมากยิ่งดี อย่างดาดฟ้าในบ้านเราที่ต้องเผชิญแดดฝนประจำ อุณหภูมิที่แตกต่างจะทำให้พื้นผิวดาดฟ้ายืดหดตัว และยิ่งถ้าเป็นพื้นที่เกิดแรงสั่นสะเทือนบ่อยๆ การยืดหยุ่นของสีทากันกันซึมถือเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นมาก

กลับมาในประเด็นที่ว่า สีทากันซึมอะคริลิกกับ PU จะเลือกอันไหนดีนั้น ถ้าพูดถึงในแง่คุณสมบัติด้านกันซึมล้วนๆ เรามักได้ยินว่า PU มาเป็นที่หนึ่ง แม้แต่ในงานซ่อมแซมรอยแตกร้าวของพื้น หรือโครงสร้างที่เป็นวัสดุคอนกรีตใดๆ PU มักได้รับเลือกนั่นเป็นเพราะ PU ป้องกันรั่วซึมได้ดีกว่าอะคริลิก

ภาพ: ตัวอย่างการซ่อมรอยแตกร้าวบนพื้นผิวคอนกรีต ด้วยวัสดุ PU ยาแนว
ภาพ: ตัวอย่างการซ่อมรอยแตกร้าวบนพื้นผิวคอนกรีต ด้วยวัสดุ PU ยาแนว

ในงานทาสีกันซึมดาดฟ้าก็เช่นเดียวกัน สีทากันซึม PU จะยึดเกาะได้ดีมาก การใช้งานมักยาวนานถึง 10 ปี (อาจมากน้อยต่างไปบ้างตามสภาพหน้างาน) ในขณะที่สีทากันซึมอะคริลิกทั่วไป มักใช้งานได้ 3-5 ปี หลังจากนั้นคุณภาพการยึดเกาะจะลดลงอย่างมาก ส่วนในแง่ความยืดหยุ่นของสีทากันซึม PU จะอยู่ที่ 300-800 % ในขณะที่สีทากันซึมอะคริลิกบางรุ่นอาจมีความยืดหยุ่นที่ 45 % และถ้าเป็นสีทากันซึมอะคริลิกคุณภาพสูงก็อาจยืดหยุ่นได้ 200-340%

ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าสีทากันซึม PU มีประสิทธิภาพกันซึมสูงกว่าสีทากันซึมอะคริลิก สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า แต่ก็ตามมาด้วยราคาค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเช่นกัน ดังนั้นเจ้าของบ้านที่จะเลือกสีทากันซึมดาดฟ้า ก็ต้องมาพิจารณากันอีกทีในเรื่องความคุ้มค่าและงบประมาณ โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ สีทากันซึมอะคริลิกบางรุ่นก็พัฒนาคุณสมบัติการกันซึมที่มีประสิทธิภาพสูงจนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย

ภาพ: ตัวอย่างการทาสีกันซึมดาดฟ้า (ใช้สีทากันซึมอะคริลิก)
ภาพ: ตัวอย่างการทาสีกันซึมดาดฟ้า (ใช้สีทากันซึมอะคริลิก)

นอกจากนี้ ยังมีสีทากันซึมอีกประเภทที่เรียกว่า โพลียูรีเทนไฮบริด (Polyurethane Hybrid) เป็นการผสมกันของ PU และอะคริลิก ทำให้ได้คุณสมบัติที่ดีกว่าสีทากันซึมอะคริลิกทั่วไป (แต่จะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของส่วนผสม) และราคาก็สูงกว่าสีทากันซึมอะคริลิกด้วยเช่นกัน โดยสีทากันซึมโพลียูรีเทนไฮบริดแต่ละรุ่นจะมีการพัฒนาคุณสมบัติเพิ่มเติมของตัวเอง เช่น ช่วยลดความร้อน สะท้อนความร้อน มีหลายสีให้เลือก เป็นต้น

Modified Silicone Acrylic สำหรับงานทาสีกันซึมดาดฟ้า

นอกจากอะคริลิกและ PU แล้ว ในปัจจุบันนี้วัสดุซิลิโคนก็มีการพัฒนาสูตรในรูปของ Modified Silicone Acrylic เพื่อใช้เป็นสีทากันซึมดาดฟ้าด้วย มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนในตัว อายุการใช้งานไม่แพ้สีทากันซึม PU สามารถใช้งานยาวนานถึง 10 ปี มีความยืดหยุ่น 300-500 % ซึ่งสูงกว่าสีทากันซึมอะคริลิก และยังทนสภาพอากาศภายนอกได้ดีกว่า เนื่องจากเป็นวัสดุสูตรน้ำมัน Solvent Base (ในขณะที่อะคริลิกและ PU จะเป็นสูตรน้ำ Water Base) แต่ราคาก็สูงกว่าสีทากันซึมอะคริลิกด้วยเช่นกัน

ภาพ: ตัวอย่างสีทากันซึมชนิดต่างๆ
ภาพ: ตัวอย่างสีทากันซึมชนิดต่างๆ

ทั้งนี้ ไม่ว่าเจ้าของบ้านเลือกสีทากันซึมดาดฟ้าชนิดใด สิ่งสำคัญคือการใช้งานอย่างถูกวิธีเพื่อการป้องกันรั่วซึมที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเลือกใช้บริการทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ การเตรียมพื้นผิวที่ดี มีการตรวจสอบพื้นผิวว่าได้ระดับไม่เป็นหลุมบ่อ มีความลาดเอียงเหมาะสม ลอกสีกันซึมของเดิมที่แตกหลุดล่อนออกและซ่อมรอยร้าวบนพื้นให้เรียบร้อยก่อน จึงค่อยลงมือทาสีกันซึมด้วยวิธีที่ถูกต้องตามขั้นตอนในคู่มือ (โดยทั่วไปมักทารองพื้น 1 รอบ และทาสีกันซึมดาดฟ้าประมาณ 3 รอบ) มีการป้องกันรั่วซึมตามจุดเสี่ยงซึ่งเกิดรอยร้าวง่าย เช่น รอยต่อพื้น/ผนัง ควรยาแนวรอยต่อด้วยวัสดุ PU และติดตั้ง Fiber Mesh ช่วยป้องกันรั่วซึมอีกชั้น เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อสีทากันซึมเสื่อมสภาพตามระยะเวลาและการใช้งาน ควรทาใหม่เพื่อการป้องกันรั่วซึมที่ได้ประสิทธิภาพอยู่เสมอ

ภาพ: (ซ้าย) สภาพพื้นดาดฟ้าที่ไม่เรียบร้อยซึ่งยังไม่สามารถทาสีกันซึมได้ และ (ขวา) พื้นผิวดาดฟ้าที่ซ่อมแซมรอยแตกเรียบร้อยแล้ว
ภาพ: (ซ้าย) สภาพพื้นดาดฟ้าที่ไม่เรียบร้อยซึ่งยังไม่สามารถทาสีกันซึมได้ และ (ขวา) พื้นผิวดาดฟ้าที่ซ่อมแซมรอยแตกเรียบร้อยแล้ว
ภาพ: (ซ้าย) การล้างทำความสะอาดพื้นผิวก่อนทาสีกันซึมดาดฟ้า และ (ขวา) การยาแนวรอยต่อระหว่างพื้นกับผนังซึ่งเป็นจุดเสี่ยงรั่วซึมได้ง่าย
ภาพ: (ซ้าย) การล้างทำความสะอาดพื้นผิวก่อนทาสีกันซึมดาดฟ้า และ (ขวา) การยาแนวรอยต่อระหว่างพื้นกับผนังซึ่งเป็นจุดเสี่ยงรั่วซึมได้ง่าย
ภาพ: การทาสีกันซึมดาดฟ้าที่ถูกวิธี ต้องทาครอบคลุมผนังด้านล่างขึ้นมาประมาณ 10 ซม.
ภาพ: การทาสีกันซึมดาดฟ้าที่ถูกวิธี ต้องทาครอบคลุมผนังด้านล่างขึ้นมาประมาณ 10 ซม.
ภาพ: การติดตั้ง Fiber Mesh ที่รอยต่อระหว่างพื้นดาดฟ้าและขอบกั้นซึ่งเป็นจุดเสี่ยงรั่วซึม
ภาพ: การติดตั้ง Fiber Mesh ที่รอยต่อระหว่างพื้นดาดฟ้าและขอบกั้นซึ่งเป็นจุดเสี่ยงรั่วซึม

โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว

  1. แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับสีทากันซึมดาดฟ้าที่เจ้าของบ้านคุ้นเคยดีทั้งอะคริลิก และ PU รวมถึงสีทากันซึมดาดฟ้าชนิดอื่นที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมาในปัจจุบันอย่าง โพลียูรีเทนไฮบริด และ Modified Silicone Acrylic

ใส่ความเห็น

×
×

Cart