Site icon scg-towiwat.com

ผ้าใบคอนกรีต SCG กับงานคอนกรีตฉบับรวบรัด “ปรับ ปู ยึด รด”

ผ้าใบคอนกรีต SCG กับงานคอนกรีตฉบับรวบรัด “ปรับ ปู ยึด รด”
ผ้าใบคอนกรีต SCG กับงานคอนกรีตฉบับรวบรัด “ปรับ ปู ยึด รด”

ผ้าใบคอนกรีต SCG กับงานคอนกรีตฉบับรวบรัด “ปรับ ปู ยึด รด”

ผ้าใบคอนกรีต SCG หรือ SCG Concrete Fabric เป็นวัสดุคอนกรีตแบบพิเศษ มีลักษณะเป็นผืน นำมาวางปรับรูปแบบตามต้องการ จากนั้นก็ทำการรดน้ำหรือแช่น้ำ เป็นเวลา 4 ชม. ผ้าใบคอนกรีตจะแข็งตัวและคงรูป สะดวกกว่าการเทหล่อคอนกรีตแบบทั่วไปที่ต้องตั้งไม้แบบ เทหล่อ รอคอนกรีตเซตตัว

ผ้าใบคอนกรีต SCG หน้าตาเป็นอย่างไร ?

ผ้าใบคอนกรีต SCG บรรจุเป็นม้วน ม้วนละ 1 แผ่น น้ำหนัก 60 กก. เมื่อคลี่ออกมาจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 5 ตารางเมตร หน้ากว้าง 1 เมตร ยาว 5 เมตร หนา 10 มิลลิเมตร 1 แผ่นปูได้ 3.84-4.00 ตารางเมตร (หักระยะซ้อนทับด้านละ 10 ซม.)

ภาพ: ลักษณะของผ้าใบคอนกรีต SCG

ผ้าใบคอนกรีต SCG มีคุณสมบัติอย่างไร ?

ผ้าใบคอนกรีต SCG ผลิตจากซีเมนต์และใยสังเคราะห์ แข็งแรงคงทน ทึบน้ำ ตามคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ สามารถนำมาวางปรับเปลี่ยนขนาดและรูปแบบได้ตามต้องการ ใช้กรรไกรหรือเครื่องมือทั่วไปตัดได้ ติดตั้งสะดวกรวดเร็ว เพียงแค่ ปรับ ปู ยึด และรดน้ำ จากนั้นทิ้งไว้ 4 ชม. ผ้าใบคอนกรีตจะแข็งตัวพร้อมใช้งาน จากข้อมูลเบื้องต้นในโครงการที่ผ่านมาพบว่าการใช้ผ้าใบคอนกรีต SCG ประหยัดเวลาและแรงงานมากกว่าการหล่อคอนกรีตประมาณ 2-2.5 เท่า (ขึ้นอยู่กับการทำงานของช่าง) ทั้งยังช่วยลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ลดขยะจากการก่อสร้าง และไม่ทำให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย

ภาพ: ผ้าใบคอนกรีต SCG มีคุณสมบัติทึบน้ำ สามารถกักเก็บน้ำได้

วิธีติดตั้งผ้าใบคอนกรีต SCG

  • ขั้นตอนที่ 1 “ปรับ” : ปรับพื้นผิวในพื้นที่การใช้งานให้เรียบและแน่น สำหรับปูผ้าใบคอนกรีต
  • ขั้นตอนที่ 2 “ปู” : ปูผ้าใบคอนกรีต โดยมีระยะซ้อนทับ 10 ซม. สามารถปรับเปลี่ยนจัดผ้าใบคอนกรีตให้เป็นไปตามรูปแบบตามพื้นผิวที่ต้องการ
  • ขั้นตอนที่ 3 “ยึด” : ยึดผ้าใบคอนกรีตระหว่างกันด้วยปูนซีเมนต์ผสมน้ำ และหมุดหรือตะขอยึด
  • ขั้นตอนที่ 4 “รด” : รดน้ำลงบนผ้าใบคอนกรีตให้ชุ่ม (ปริมาณน้ำ 5 ลิตร/ตร.ม.) รอระยะเวลาประมาณ 4 ชม. เพื่อให้ผ้าใบคอนกรีตเกิดการแข็งตัว
ภาพ: ขั้นตอนติดตั้งผ้าใบคอนกรีต SCG ปรับ ปู ยึด รด

ทั้งนี้ ผ้าใบคอนกรีตมีคุณสมบัติทึบน้ำ แต่ไม่ถึงกับกันน้ำ 100% เนื่องจากบริเวณรอยต่ออาจเกิดการรั่วซึมได้ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการรั่วซึมบริเวณรอยต่อ โดยเฉพาะงานกักเก็บน้ำ แนะนำให้บดอัดดินให้แน่นก่อนติดตั้งเพื่อลดการยุบตัว และเน้นเรื่องระยะซ้อนทับที่เพียงพอ (ไม่น้อยกว่า 10 ซม.) รวมถึงใช้ปูนซีเมนต์หรือกาวซีเมนต์ทาบริเวณรอยต่อเพื่อลดโอกาสรั่วซึม

ผ้าใบคอนกรีต SCG เหมาะกับงานแบบไหน ?

ผ้าใบคอนกรีต SCG เหมาะสำหรับใช้ทดแทนการดาดคอนกรีตในงานโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างเสริมความแข็งแรงของดิน การป้องกันการกัดเซาะของที่ลาดชัน การทำพื้นทางเดิน และด้วยคุณสมบัติป้องกันการซึมผ่านของน้ำ จึงเหมาะกับงานกักเก็บน้ำ การดาดคลอง ดาดสระน้ำ สร้างสระพวง บ่อกักเก็บน้ำ บ่อน้ำทางการเกษตร บ่อเลี้ยงปลา

ทั้งนี้ผ้าใบคอนกรีตไม่ได้เป็นส่วนโครงสร้างรับแรงโดยตรง แต่ทำหน้าที่ในการ “ถ่ายแรง” สู่พื้นดินด้านล่าง (Sub Base) ดังนั้น ความแข็งแรงของชิ้นงานผ้าใบคอนกรีต จะขึ้นอยู่กับพื้นดินด้านล่างด้วย

ภาพ: ตัวอย่างการใช้ผ้าใบคอนกรีต SCG สำหรับทำทางเดิน (ซ้าย) และงานการเกษตร/โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป

ผ้าใบคอนกรีต SCG ใช้ในงานตกแต่งได้ไหม ?

ด้วยคุณสมบัติของผ้าใบคอนกรีต SCG เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานตกแต่งบ้านหรือสถานที่ทั่วไปได้ เช่น

  • สระน้ำ และบ่อปลา สามารถสร้างเป็นบ่อเลี้ยงปลาได้ โดยปรับสภาพน้ำก่อนการเลี้ยง เช่นเดียวกับการหล่อบ่อปลาด้วยคอนกรีตทั่วไป
  • สร้างสรรค์งานตกแต่งแบบไม่ซ้ำใคร ด้วยคุณสมบัติของผ้าใบคอนกรีต ที่สามารถจัดรูปทรงได้ตามต้องการ จึงเหมาะกับงานที่สร้างสรรค์รูปทรงเฉพาะเช่น เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง ผนัง Free Form
ภาพ: ตัวอย่างการใช้ผ้าใบคอนกรีต SCG ในงานตกแต่งผนัง Free Form ลายหิน
ภาพ: ตัวอย่างการนำผ้าใบคอนกรีต SCG มาทำเป็นชั้นวางของตามรูปทรงที่ต้องการ

ผ้าใบคอนกรีต SCG มีวิธีดูแลรักษาอย่างไร ?

  • การดูแลรักษาก่อนติดตั้ง ผ้าใบคอนกรีต SCG กองเก็บได้ประมาณ 3 เดือน ควรเก็บในที่ร่มให้ห่างจากความชื้น (เช่นเดียวกับถุงปูนซีเมนต์) ห้ามวางซ้อนพาเลท และใน 1 พาเลทสามารถจัดวางผ้าใบคอนกรีตได้ไม่เกิน 5 ชั้น
  • การดูแลรักษาหลังติดตั้ง ปกติแล้วผ้าใบคอนกรีต SCG ใช้งานได้ประมาณ 10 ปี (ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงมั่นคงของพื้นดินหรือ Subbase ที่รองรับ) หากเกิน 10 ปีแล้วพบว่าความสามารถกักเก็บน้ำเสื่อมลง หรือกรณีพื้นดินบางส่วนเกิดการทรุดตัว ก็สามารถรื้อเปลี่ยนใหม่ได้โดยถอนหมุดยึด แล้วยกตัวผ้าใบคอนกรีตเดิมออก เพื่อนำของใหม่มาติดตั้งแทน (ซึ่งง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับการรื้อถอนคอนกรีตหล่อ) หรือหากจะซ่อมแซมพื้นที่ขนาดเล็กก็ทำได้โดยใช้ลูกหมูตัดซ่อมเป็นจุดแล้วนำผ้าใบคอนกรีตชิ้นใหม่มาปู ยึดด้วยหมุด จากนั้นใช้ซีเมนต์ยาแนวรอยต่อให้เรียบร้อย
ภาพ: ตัวอย่างการใช้ซีเมนต์ยาแนวรอยต่อผ้าใบคอนกรีต
Exit mobile version