ทำผนังกันเสียง ด้วยวัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock

ทำผนังกันเสียง ด้วยวัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock

ทำผนังกันเสียง ด้วยวัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock

ทำผนังกันเสียง ด้วยวัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock นำเสนอวิธีแก้ปัญหาและป้องกันเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้านที่อยู่ ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโดฯ ยูนิตติดกัน รวมถึงการทำผนังกันเสียงด้วยฉนวนกันเสียงอย่าง วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock

เมื่อพูดถึงที่พักอาศัยซึ่งต้องใช้ทั้งผนังและโครงสร้างร่วมกับเพื่อนบ้านยูนิตติดกัน หนึ่งในปัญหาที่เจอบ่อยๆ ก็คือ เสียงรบกวนที่เล็ดลอดถึงกัน ทั้งเสียงเขามารบกวนเราและเสียงเราไปรบกวนเขา แล้วเราจะป้องกันเสียงรบกวนอย่างไรจึงจะได้ผล ก่อนจะไปถึงประเด็นนี้ เราควรมาทำความเข้าใจเรื่องเสียงกันสักหน่อย

ก่อนจะป้องกันเสียงรบกวน ควรเข้าใจการเดินทางของเสียง

การเดินทางของเสียงเป็นอีกปัจจัยที่เราควรรู้เพื่อหาวิธีป้องกันได้ตรงจุด โดยธรรมชาติเสียงจะต้องเดินทางผ่านตัวกลางเสมอ โดยอาศัยตัวกลางได้ 2 แบบ คือ ตัวกลางที่เป็นอากาศ กับ ตัวกลางที่เป็นโครงสร้าง

ภาพ: เสียงเดินทางผ่านตัวกลาง 2 ทางคือ อากาศ (Airborne Sound Transmission) และโครงสร้าง (Structure-Borne Sound Transmission)
  • เสียงส่งผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศ (Airborne Sound Transmission) โดยเสียงจะเดินทางผ่านอากาศส่วนต่างๆ ซึ่งรวมถึงช่องว่างของทุกรอยต่อ เช่น รอยต่อระหว่างวงกบประตูหน้าต่างกับผนังหรือตัวหน้าบานเอง กรณีทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโดฯ ที่ใช้ผนังร่วมกันเพื่อนบ้าน อาจพบปัญหาเสียงลอดตามรอยต่อปลั๊กที่อยู่ตำแหน่งเดียวกัน รวมถึงปัญหาเสียงลอดผ่านช่องว่างของผนังส่วนเหนือฝ้าที่ก่อไม่ชนถึงท้องคาน

  • เสียงส่งผ่านตัวกลางที่เป็นโครงสร้าง (Structure-Borne Sound Transmission) โดยการสั่นสะเทือนของโครงสร้างหรือส่วนประกอบอาคาร อย่างเวลาปิดประตูแรงๆ กระแทกจนเกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านวงกบต่อเนื่องไปยังผนัง พื้น/คาน/เสา หรือเวลาที่ข้างบ้านเปิดเพลงดังจนเรารู้สึกถึงการสั่นสะเทือนที่กระทบผ่านส่วนต่างๆ ของอาคาร

จะป้องกันเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้าน (ยูนิตติดกัน) ได้อย่างไรบ้าง

สำหรับทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโดฯ ที่ต้องใช้ผนังร่วมกับเพื่อนบ้าน วิธีลดและป้องกันเสียงรบกวนที่มักทำได้คือ

  • ป้องกันเสียงรบกวนลอดตามรอยต่อปลั๊กไฟบนผนังที่ใช้ร่วมกัน หากปลั๊กไฟของเรากับเพื่อนบ้านอยู่ตรงกัน ให้ย้ายปลั๊กไฟของเราไปไว้ตำแหน่งอื่น
ภาพ: ตำแหน่งปลั๊กไฟที่ตรงกันบนผนังเดียวกัน ทำให้เกิดเสียงรบกวนได้ง่าย
  • ป้องกันเสียงรบกวนลดเสียงลอดผ่านช่องว่างผนังเหนือฝ้าเพดาน หากเปิดฝ้าเพดานแล้วพบว่ามีช่องว่างดังกล่าว ให้ก่ออิฐหรือใช้ผนังเบาปิดช่องว่างระหว่างผนังกับใต้ท้องคานให้เรียบร้อย
ภาพ: การก่อผนังเพิ่มให้ชนท้องคาน (ส่วนสีส้ม) เพื่อป้องกันเสียงรบกวน
  • ป้องกันเสียงรบกวนจากการปิดประตูหน้าต่างแรงๆ หรือเปิดเพลงเสียงดัง อันนี้ควรเจรจาขอความร่วมมือกับเพื่อนบ้านเท่าที่ทำได้ ในส่วนของเราอาจทำการซีลขอบยางประตูหน้าต่างให้แนบสนิทช่วยลดแรงกระแทกเวลาปิดไม่ให้ไปรบกวนเพื่อนบ้าน

  • ป้องกันเสียงรบกวนด้วยการเพิ่มค่าการกันเสียงของผนัง อธิบายง่ายๆ คือ ขณะเสียงเดินทางผ่านอากาศ หากมีวัสดุมากั้น เสียงที่ทะลุผ่านวัสดุไปจะเบาลง แต่จะเบาลงแค่ไหนขึ้นอยู่กับ “ค่าการกันเสียง” หรือที่มักเรียกกันว่า “ค่า STC” ของวัสดุที่มากั้น โดยค่า STC ที่ยิ่งสูงจะยิ่งกันเสียงได้มาก ทั้งนี้ เราสามารถเพิ่มค่า STC ให้ผนังเดิมได้ด้วยการทำผนังเพิ่มอีกชั้น เช่น ผนังอิฐอาจก่อซ้อนเพิ่มอีกชั้นหรือทำผนังโครงเบาติดทับ โดยสามารถนำวัสดุที่มีค่า STC สูง อย่างฉนวนกันเสียง มาซ่อนในโครงผนังเบาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียงได้ด้วย (จะใช้วางเหนือฝ้าเพดานเพื่อป้องกันเสียงจากเพดานก็ได้) ทั้งนี้ การเพิ่มค่าการกันเสียง หรือ ค่า STC ให้กับผนังนั้น สามารถช่วยลดทั้งเสียงรบกวนที่เดินทางผ่านอากาศ และลดแรงสั่นสะเทือนที่ผ่านโครงสร้าง จึงเหมาะในการป้องกันเสียงรบกวนผ่านผนังที่ต้องใช้ร่วมกับเพื่อนบ้าน

ภาพ: ตัวอย่างฉนวนกันเสียง ( วัสดุอะคูสติกสำหรับผนังกันเสียงรุ่น Cylence Zoundblock)

ทำผนังกันเสียงด้วยฉนวนกันเสียง เพิ่มค่า STC ช่วยกันเสียงรบกวน

เพื่อให้เห็นภาพ จะขอแนะตัวอย่าง “การทำผนังกันเสียง” เป็นการเพิ่มค่า STC เพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากผนัง ด้วยการติดตั้งผนังโครงเบาเข้ากับผนังเดิม โดยฉนวนกันเสียงที่ใช้ คือ วัสดุอะคูสติกสำหรับผนังกันเสียงรุ่น Cylence Zoundblock S050 ติดตั้งในโครงคร่าวกัลวาไนซ์ขนาด C74 และ U76 ปิดทับด้วยแผ่นสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี หนา 8 มม. ขึ้นไป หรือยิปซัมบอร์ดหนา 12 มม. ขึ้นไป ผนังที่ได้จะมีค่าการกันเสียงอยู่ที่ประมาณ STC 48 – STC 54 ขึ้นอยู่กับวัสดุเดิม ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับการใช้งาน (ปกติแล้ว ผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไปมีค่า STC ประมาณ 40)

ขั้นตอนทำผนังกันเสียงด้วยวัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock

1. ติดตั้งโครงคร่าว C74 และ U76 บนผนังเดิมตั้งแต่พื้นจรดเพดาน โดยเว้นระยะห่างที่ 0.60 ซม. (หรือตามที่ผู้ผลิตกำหนดในคู่มือการติดตั้ง)

ภาพ: การติดตั้งโครงคร่าวบนผนังเดิม

2. ติดตั้งวัสดุอะคูสติกสำหรับผนังกันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock S050 ในโครงคร่าว

ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันเสียงในโครงคร่าว

3. ติดตั้งแผ่นผนังสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี (หนา 8 มม.) หรือแผ่นยิปซัม (หนา 12 มม.) บนโครงคร่าว

ภาพ: การติดตั้งแผ่นผนังบนโครงคร่าว

4. ฉาบอุดโป๊ว เก็บสี ตกแต่ง บริเวณรอยต่อแผ่นระหว่างแผ่นผนังและบริเวณหัวสกรูให้เรียบร้อย

ภาพ: การเก็บสีบริเวณรอยต่อและหัวสกรู หลังจากติดตั้งแผ่นผนังเสร็จ

5. จากนั้นทาสีหรือตกแต่งผนังตามใจชอบ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย สามารถใช้พื้นที่ในการนั่งพักผ่อนหรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ชื่นชอบได้เต็มที่สบายใจมากขึ้น

ภาพ: การใช้งานห้องที่ติดตั้งผนังกันเสียง

ใส่ความเห็น

×